แนวข้อสอบเข้าเภสัชกร

แนวข้อสอบเข้า เภสัช รอบแรก
1.ไทย เน้นหลักภาษามากๆมีครบเกือบทุกส่วนค่อนข้างครอบ คลุม ความยากบางข้อประมาณ โอเน็ท บางข้อก็ เอเน็ท ทักษะสัมพันธ์แทบจะไม่มี 2.สังคม-เน้นครบทุกสาระการเรียน ศาสนา สังคมหน้าที่พลเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย(ทำสัญญา 50 บาทup นะครับ) ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์+สถานการณ์ปัจจุบันบางข้อ เช่น เลขา ยูเอ็น ตอบนาย บันคีมุน ไข้หวัดนก ตอบข้อ 4 อุปสงค์เนื้อเป็ดหน่ะ เอาแค่นี้ก่อน 3.อังกฤษ เน้นศัพท์มากๆๆๆใน เรื่องแรกcloze test (president of america) และใน reading passage สามเรื่องก่อนสุดท้าย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโรคทางการแพทย์ 2 บท 1.การหาว(yawning) และ เรื่องโรคที่กล่าวไว้ว่า จะทำให้ blood cell ลดลง โดยเฉพาะในการย่อยอาหาร เพราะ nautrifil blood cell ลดลง ทำให้การย่อยทำงานไม่เต็มที่ และ เรื่องการใช้งานเกี่ยวกับ optic fiber 1 บท ส่วนอันอื่นก็เป็นการช่วย เป็นโฆษณากรอบเล็กๆ และ conversation 4.ฟิสิกส์ เรื่องที่นำมาออก 1.การเคลื่อนที่ใน 1 มิติ 2.แรง มวล การเคลื่อนที่ 3.การเคลื่อนที่เชิงมุม 4.การเคลื่อนที่ 2 มิติ 5.ไฟฟ้ากระแส 6.แม่เหล็กไฟฟ้า 7.ดอล์ปเปอร์ 8.แสงและการมองเห็น 9.แรงดัน+แรงลอยตัว 10.งานและกฎทรงมวล 11.ครึ่งชีวิต เอาคร่าวๆแค่นี้ก่อน 5.คณิตศาสตร์ เรื่องที่ออก 1.เซต 2.ตรรกศาสตร์ 3.จำนวนจริง 4.เมตริกซ์ 5.det 6.diff 7.สถิติ 8.เลขยกกำลัง 9.log 10.ตรีโกณ 11.ภาคตัดกรวย 12.เรียง สับเปลี่ยนหมู่ 13.เรขาคณิต วิเคราะห์ 14.คอมโพสิท ฟังก์ชัน 15.ฟังก์ชัน ประมาณนี้ครับ .................................... ข้อสอบรอบนี้ ยาก มากๆ เพื่อนที่สอบรอบแรกยังบอกว่ารอบนี้ยากกว่ารอบแร กอีก คณิต+ฟิสิกส์ ไม่ยากถ้าจำสูตรได้ (แต่เราจำม่ะได้อ่า อิอิ) ไทย+สังคม ก้อ ออกทั่วๆไป แต่อังกฤษ passage อ่านจนตาลาย แถมแปลไม่ออกอีก เหอะๆ ................................................................................................ ได้ข่าวมาว่า ฟิสิกส์ข้อ 22 เรื่องการสลายตัวง่ะ เหนเค้าว่าไม่มีคำตอบอ่ะ ช้อย ข. กะ ง. เหมือนกัน .................................................................................................... ข้อ 22 วิชา ฟิสิกส์ ไม่มีคำตอบที่จริงแล้วคำตอบน่าจะประมาณ ข้อ 4 ดูตามสเกลของคำตอบที่ไล่มาตั้งแต่ข้อ 1 จะลง ข้อ 4พอดี สรุป คือข้อนี้ ทุกคนได้คะแนน ปล.แต่ก็อย่าลืมนะครับว่าเราได้คะแนนคนอื่นเค้าก็ได้ เหมือนกัน จบแค่นี้ครับ .................................................................................................. รายละเอียดในแต่ละวิชา ชีววิทยา 75 ข้อ เนื้อหาค่อนข้างครอบคลุม แต่ส่วนที่ต่างออกไปจากการสอบในที่ต่างๆ ก็เป็นเช่นที่พี่ๆบอก คือ อาจารย์ท่านพยายามยัด "ศัพท์เฉพาะ" ลงทุกกระเบียดที่จะจับใส่ลงไปได้ มีบางข้อที่ไม่ได้ใช้ศัพท์เฉพาะเพราะเรื่องนั้นต้องใ ช้ภาษาไทยในการอธิบาบย เนื้อหาที่ออก 1.สิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อม อันนนี้มีเรื่องวัฏจักรเข้ามา ,herbivorous,lichens,food chain 2.หน่วยของสิ่งมีชีวิต อันนี้มีทั้งออกตรงๆและแฝงอยู่ในข้ออื่นบางข้อ ส่วนมากถามหน้าที่ของเซลล์และหน้าที่ของส่วนประกอบย่ อยภายในเซลล์ อันนี้เยอะพิมพ์ไม่ไหว 3.ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยา ถ้าขาดเรื่องนี้ไปก้ไม่ใช่ชีวะว่ามั้ยครับ อาจารย์ท่านก็ให้เราท่องตลอด นักเรียนจำไว้นะจ๊ะว่าต้อง "คิงดอมมมมม ไฟล่ามมม คลาสสสส ออเด้ออ แฟมมิลี่ลลลล จีนัสซซ สปีชี่ชี่ชชชชช" อิอิ เรื่องนี้ออกทั้งเรื่อง พืชและสัตว์ ส่วนนี้ไม่ยากเกินไป(ถ้าจำได้) มีประมาณ 4 ข้อ 4.สารอาหารกับการดำรงชีวิต มีทั้งที่ถามในเรื่องนี้ตรงๆและนำไปใช้ตั้งคำถามร่วม ในข้ออื่นๆ เรื่องนี้ ถ้าตรงๆ ประมาณ 2 ข้อ นำไปถามร่วม ประมาณ 2 ข้อ 5.การย่อยอาหาร มีประมาณ 3 ข้อ ไม่นำไปเกี่ยวกับข้ออื่น 6.การลำเลียงสารในร่างกาย ออกทั้งในคนและสัตว์ ไม่แน่ใจจำนวนข้อ ประมาณ 5 ข้อ 7.การรักษาสมดุลของร่างกาย ส่วนมากเน้นถามเกี่ยวกับการกรองและขับถ่ายของเสียของ ไต วันนี้พี่ไตเค้าเป็นพระเอกเรื่องนี้ รวมๆประมาณ 4 ข้อ 8.พลังงานในสิ่งมีชีวิต อันนี้ไม่ออกตรงจะนำไปรวมเรื่องต่างๆหลายข้อ 9.การหายใจของสิ่งมีชีวิต เรื่องออกเป็นเหมือนตัวช่วย ที่ตรงๆ 1 ข้อถ้วน ตอบ ข้อ 1 อ๊อกซิเจน 10.การสังเคราะห้ด้วยแสง เรื่องไม่เน้นในภาพรวม แต่จะเน้นบ่งชี้เฉพาะหลักการทำของแต่ละส่วนของพืชว่า ส่วนนี้ทำอะไร หรือสิ่งนี้ส่วนไหนทำ ออกประมาณ 3 ข้อ ไม่แน่ใจ 11.การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เน้นหน้าที่ของอวัยวะแต่ละส่วนว่าทำงานอย่างไร แต่ไม่ออกของสัตว์ มีเฉพาะของพืชและคน และที่สำคัญ พระเอกของเรื่องนี้คือพี่ mitosis และ meiosis เหมือนเดิม 12.การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ถามเรื่องเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ 2 ข้อ 1.spinal cord (กระดูกสันหลัง) ตอบ ข้อ 2 mesoderm 2.ข้อไหน อยู่ในชั้น mesoderm อนนี้ ตอบ ข้อ 3. kidney(ไต) ส่วนที่เกี่ยวแต่ไม่ชัดมีอีก 1 ข้อ รวมประมาณ 3 ข้อ 13.ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส นี่คือพระเอกตัวจริงของวันนี้ เพราะอาจารย์ท่านจับมาไว้ตั้งแต่ข้อต้นๆ กลางๆ แถมตอนท้ายๆก็ยังเจออีก แต่ก็เป็นธรรมดาเพราะเรื่องนี้ศัพท์เฉพาะเยอะ แถมเรื่องให้ถามก็แยะ เอาเป็นว่ารวมๆประมาณ 9-10 ข้อส่วนมากจะถามเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะ และถามว่าหน้าที่นี้ส่วนไหนทำ อืม ประมาณนี้ 14.ฮอร์โมน ออกตรงๆประมาณ 3 ข้อ และนำไปโยงเรื่องการขับถ่ย และอาการแพ้(alleganic) อีก 2 ข้อ 15.การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต ออกเฉพาะของคนและสัตว์ประมาณ 2-3 ข้อ 16.พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ออก FAP : fix action pattern ตอบ 1.innate และก็ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมสัตว์ในทะเลทราย ตอบ ข้อ 3.หากินตอนกลางวัน อืมประมาณนี้ 17.การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ถามลักษณะจีโนไทป์มา 1 ข้อ ตอบ 4.ถูกทุกข้อ 2.โรคทางพันธุกรรมที่เกิดแล้วเม็ดขาวมากเกินเกิดในอว ัยวะใด ตอบ 4.plasma(น้ำเลือด) และเรื่องที่ออกมากที่สุด บทนี้ก็ต้อง dna rna nitrogenous base ส่วนประกอบ dna การ translation และลำดับร่วม ของ dna และ rna ตอบ 1.AAGGCC เพราะไม่ใช้ UและTร่วมกัน ประมาณนี้ 18.วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่องพลิกโผนึกว่าจะออกไม่มาก แต่ออก 4 ข้อ ถามทฤษฎีของดาร์วิน เป็นหลัก และมีพัฒนาการของมนุษย์ Australopithecus afarensis ว่าส่วนไหนพัฒนาลำดับแรก ตอบ 1.สมองใหญ่ และถามว่ายุคใดที่มนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรก ตอบ ข้อ 3.มหายุค paleosoic และถามว่า ยีราฟมีวิวัฒนาการอย่างไร เรื่องนี้รวมๆประมาณนี้ ส่วนที่เหลือก็จะเป็นหลายเรื่องถามคาบเกี่ยวในข้อเดี ยวกัน ต้องความและนึกที่เราอ่านมาให้ออกแต่ถ้าไม่ได้อ่านมา หรืออ่านมาไม่ตรงก็จิ้มและกาลงไป และผ่านไปข้อต่อไป เท่าที่พอจำได้ก็ประมาณนี้ครับ คงเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายๆคนนะครับ .............................................................................................................. เคมี มีทั้งออกเป็นถามความจำ คำนวณ และถูกผิด โดยรวมผมว่ายากใช้ได้ทีเดียว เรื่องที่นำมาออกสอบ 1.อะตอมและตารางธาตุ ถามแบบจำลองอะตอมรัทเทอร์ฟอร์ด 1 ข้อเป็นแบบผิดถูก ตารางธาตุและเลขอะตอม มีตั้งแต่ส่วนแรก กลาง และท้ายทั้งตรงๆและรวมอยู่กับข้ออื่น การจัดเรียงอะตอม สมบัติตามคาบ หมู่ IE EA การจัดเรียงอะตอม จุดเดือดจุดหลอมเหลว ประมาณนี้ 2.พันธะเคมี รูปร่างโมเลกุล โมเลกุลโคเวเลนซ์ พลังงานของปฏิกิริยา แรงยึดเหนี่ยว สารประกอบไออนิก พันธะโลหะ พันธะโคเวเลนซ์กับโครงผลึกร่างตาข่าย ออกรวมกัน ทั้งตรงๆและรวมกับเรื่องอื่น 3.สมบัติของธาตุและสารประกอบ สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ สารประกอบ oxide cloride ปฏิกิริยาธาตุหมู่ 1A 2A 7A ธาตุกัมมันตภาพรังสี ครึ่งชีวิต ธาตุและสารประกอบในสิ่งแวดล้อม 4.ขาดไม่ได้ ปริมาณสารสัมพันธ์ มวลอะตอม มวลโมเลกุล จำนวนของธาตุ ไอออน และสารประกอบ ความเข้มข้นของสารละลาย จุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลาย สูตรอย่างง่ายเอมพิริคัล และสูตรโมเลกุล การหาร้อยละโดยมวลของธาตุที่เป็นสารประกอบ การหาปริมาณสารจากสมการเคมี การหาขนาดปริมาตรของอะตอม ทุกส่วนที่กล่าวมามีข้อเดียวที่ใช้สูตรเดียวแล้วได้ค ำตอบ ส่วนมาก 2 สูตรแล้วตอบ และมี 1 ข้อ 4 ขั้นตอนแล้วถึงได้คำตอบ 5.ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ พระเอกก็คือ ก๊าซ มีทั้งให้หาปริมาตร ทฤษฎีจลน์ของก๊าซ และกฏความดันย่อยของดอลตัน ของเหลวก็ออกแต่เป็นถามความจำเรื่อง การลดปริมาตร ความหนืด ความดันไอของของเหลว ส่วนของแข็งถามความจำในเรื่องตัวทำละลายของของเ หลว การดูด คายพลังงาน ส่วนมากถามความจำ ยกเว้นก๊าซ 6.อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ได้จากการทดล อง การอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ทฤษฎีการชนของอน ุภาค เรื่องกราฟแสดงระดับพลังงานในสภาวะการก่อกัมมัน ต์ เรื่องออกน้อยเรื่องแต่ยาก ต้องตีโจทย์ให้ออกและนำมาวิเคราะห์ และที่สำคัญเรื่องกราฟต้องเข้าใจไม่งั้นเดาอย่างเดีย ว 7.สมดุลเคมี เรื่องนี้เกี่ยวพันไปหลายเรื่อง แต่ที่ต้องเข้าใจคือ ภาวะสมดุล การเขียนค่าคงที่สมดุล(K) สมบัติของค่าคงที่สมดุล กราฟเกี่ยวกับสมดุลเคมี หลักของเลอชาเตอริเยร์(สำคัญมากต้องเข้าใจสัญลักษณ์) สุดท้าย

บทนำสู่เภสัชศาสตร์

บทนำสู่วิชาเภสัชศาสตร์ (Introduction to Pharmacy)

“ยา” เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ อันแสดงถึงความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีพ และสำคัญจนกระทั่งมีพระโพธิ ด้านการปรุงยาเลยทีเดียว นามว่า “พระไภษัชยคุรุประภาตถาคต” ทรงถือหม้อยาในพระหัตถ์ สะท้อนถึงความเก่าแก่ของวิชาเภสัชศาสตร์นับพันปี แต่องค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์นั้น ไม่ได้หยุดนิ่ง หรือดูโบราณ หรือไม่ทันสมัย แต่กลับพัฒนาตามโลกและโรคตลอดเวลา นับเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีคุณอนันต์ต่อมวลมนุษยชาติ และก็ได้พัฒนาไปพร้อมๆกับศาสตร์ในโลกนี้อีกหลายสาขา จวบจนปัจจุบัน เภสัชศาสตร์ นับว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีคุณอนันต์ต่อมวลมนุษยชาติ

คณะเภสัชศาสตร์ คงเป็นคณะที่น้องๆหลายคนใฝ่ฝันอยากเข้า หลายคนอาจคิดว่ารู้แล้ว ว่า เภสัชเรียนเกี่ยวกับอะไร แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า แท้จริงแล้ว เภสัชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่

นิยามของวิชาเภสัชศาสตร์ (Definition of Pharmacy)



คำว่า “เภสัชศาสตร์” ก็มาจากคำว่า “เภสัช” ซึ่งแปลว่า “ยา” และ “ศาสตร์” ซึ่งหมายถึง “ความรู้” ส่วนคำว่า “Pharmacy” มาจาก “Pharmakon” ซึ่งแปลว่า “ยา” ดังนั้น เภสัชศาสตร์ จึงหมายถึง ความรู้ในเรื่องยา หรือ การศึกษาเกี่ยวกับยา

ขอบเขตของวิชาเภสัชศาสตร์ (Scope of Pharmacy)

การศึกษาเกี่ยวกับยานั้น เราศึกษาตั้งแต่ แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา

ดังนั้น เภสัชศาสตร์ จึงเป็นวิชาที่เป็นสหสาขาวิชา คือ บูรณาการหลายๆศาสตร์เข้าด้วยกัน แต่มุ่งไปยังเรื่องของ “ยา”


แต่ในปัจจุบัน ขอบเขตของเภสัชศาสตร์ครอบคลุมในเรื่องยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารพิษ สารเสพติดและสารออกฤทธิ์ต่างๆ กล่าวโดยสรุป เภสัชศาสตร์ ก็คือการศึกษาเกี่ยวกับสารเคมีใดๆที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์ (และ ) และการใช้สารเคมีเหล่านั้นกับร่างกายเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ (โดยเฉพาะ ในทางการแพทย์)

สาขาของวิชาเภสัชศาสตร์ (Fields of Pharmacy)


1. กลุ่มวิชาบริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical Care) :

1.1 สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล (Clinical Pharmacy and Hospital Pharmacy)



เภสัชกรรมคลินิก เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโรคต่างๆและการรักษา ตั้งแต่พยาธิกำเนิด พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การดำเนินของโรค ระบาดวิทยา ปัจจัยก่อโรค ปัจจัยส่งเสริม การวินิจฉัยและการรักษา ทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา

เภสัชกรคลินิกจะดูแลการใช้ยาในผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การออกแบบการบริหารยา (ชนิดตัวยา รูปแบบยา ขนาดยา ทางของการให้ยา) การประเมินการใช้ยา การค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับยา เช่น จ่ายยาเกินความจำเป็น ขนาดยาต่ำเกิน ขนาดยาสูงเกิน เป็นต้น การติดตามอาการไม่พึงประสงค์ เช่น อันตรกิริยาของยา ผลข้างเคียงของยา การแพ้ยา และการปรับขนาดยาในผู้ป่วยในสภาวะต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคตับหรือไต เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ คือ การดูดซึมยา การกระจายยา การแปรสภาพยา และการขับยา รวมทั้งความรู้ทางเภสัชพลศาสตร์ คือ กลไกการออกฤทธิ์ของยา


ในปัจจุบัน มีหลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตร 6 ปี เรียกว่า “Doctor of Pharmacy” หรือ “ห-ม-อ-ย-า” นั่นเอง โดยจะมีการราวด์วอร์ดร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ โดยเภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Care Team) ดูแลผู้ป่วยในเรื่องยาอย่างใกล้ชิด

ส่วนเภสัชกรรมโรงพยาบาล เป็นการพูดรวมไปถึงระบบการกระจายยาในโรงพยาบาล ซึ่งก็คืองานการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก รวมทั้งงานการบริหารคลังเวชภัณฑ์ด้วย


1.2 สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชม (Community Pharmacy)


เภสัชกรรมชุมชน ก็คือ ร้านยา นั่นเอง เภสัชกรชุมชน นอกจากจำหน่ายยาแล้ว ยังต้องทำการซักประวัติ การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การเลือกใช้ยาและขนาดที่เหมาะสม แนะนำวิธีการใช้ยา นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาเรื่องยาและสุขภาพ รวมทั้งต้องมีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการร้านยาในเชิงธุรกิจอีกด้วย



1.3 สาขาวิชาเภสัชสาธารณสุข (Pharmacy Public Health)



เภสัชสาธารณสุข เป็นการประยุกต์ความรู้ทางสาธารณสุขศาสตร์มาใช้ในงานทางเภสัชกรรม เช่น ระบบยา นโยบายแห่งชาติด้านยา พฤติกรรมสุขภาพ งานสาธารณสุขชุมชน การบูรณาการองค์ความรู้ทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ มาใช้ในงานเภสัชสาธารณสุข เช่น พฤติกรรมการใช้ยาของกลุ่มประชากรที่มีความแตกต่างเรื่องเพศ อายุ เชื้อชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคม การใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น เช่น การใช้ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนมาเสพเป็นยาเสพติด เป็นต้น รวมทั้งการใช้ความรู้ทางเภสัชระบาดวิทยาและเภสัชเศรษฐศาสตร์มาช่วยในการศึกษาและจัดการปัญหาทางสาธารณสุขที่เกี่ยวกับยาและการใช้ยาของประชาชนด้วย



เภสัชกรสาธารณสุขในหน่วยงานทางสาธารณสุข เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การขึ้นทะเบียนยาและสถานประกอบการ ควบคุมการจำหน่ายยา และควบคุมดูแลการทำงานของเภสัชกร


2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม (Pharmaceutical Science) :



2.1 สาขาวิชาเภสัชเวท (Pharmacognosy)
เภสัชเวท เป็นการศึกษาตัวยาและสารช่วยทางเภสัชกรรมจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งพืช จุลินทรีย์ และแร่ธาตุ แหล่ง เช่น น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง น้ำมันตับปลา หมู วัว แหล่งจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ แบคทีเรีย แหล่งแร่ธาตุ เช่น Aluminium, Magnesium, Clay, Bentonite รวมทั้งพวกสาหร่าย เห็ด รา ด้วย เปลือกสนสกัด สารสกัดเมล็ดองุ่น สารสกัดจากปลาทะเลน้ำลึก อะไรทำนองนี้ รวมทั้ง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการผลิตตัวยาด้วย เช่น การหมักจุลินทรีย์ การเพาะเลี้ยงเซลล์พืชและเซลล์ พันธุวิศวกรรม เป็นต้น



2.2 สาขาวิชาเภสัชเคมี (Pharmaceutical Chemistry)

เภสัชเคมี ก็คือ เคมีของยา ยาก็คือ สารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ จึงมีโครงสร้างเป็นวงเป็นเหลี่ยมเป็นกิ่งก้านสาขา บางชนิดมีโครงสร้างง่ายๆ แต่บางชนิดก็มีโครงสร้างซับซ้อน อย่างที่น้องหลายคนคงเคยเห็น การตัดหมู่ฟังก์ชันบางตำแหน่งออก การเพิ่มหรือเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชัน จะมีผลต่อเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์ของยา รวมทั้งคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของยาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งสูตรตำรับ โดยเราสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เหล่านี้ในการวิจัยและการพัฒนายาโดยการปรับปรุงโครงสร้างของยา และการออกแบบยาเพื่อให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการออกฤทธิ์ที่จำเพาะมากขึ้น

2.3 สาขาวิชาเภสัชวิเคราะห์ (Pharmaceutical Analysis)


เภสัชวิเคราะห์ ก็คือ วิชาการวิเคราะห์ยา น่ะแหละ เป็นการหาปริมาณยาและสารปนเปื้อน โดยใช้วิธีการทางเคมีต่างๆ เช่น การวิเคราะห์เชิงน้ำหนัก การวิเคราะห์เชิงปริมาตรหรือการไทเทรต (กรด-เบส, สารเชิงซ้อน, รีด็อกซ์ ) การวิเคราะห์เชิงไฟฟ้า (Potentiometry, Voltametry, Polarography) การวิเคราะห์เชิงแสง (Polarimetry, Turbidimetry, Nephelometry) สเป็คโทรโฟโทเมตริ (UV, IR, NMR, MS) โครมาโทกราฟี่ (HPLC, GC, TLC) โอย.... สารพัด ทำงานในฝ่ายควบคุมคุณภาพในโรงงานยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และอาจได้เป็นพยานในศาลด้วย เพราะฉะนั้น วิเคราะห์ให้ดีล่ะ ไม่งั้นฝ่ายตรงข้ามจะหาจุดผิดพลาดของเราพลิกคดีได้



2.4 สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Technology)


เทคโนโลยีเภสัชกรรม ก็คือวิชาการผลิตยานั่นเอง ถ้าเราลองสังเกตยาแต่ละชนิด จะเห็นความแตกต่างในหลายรูปแบบ แต่พี่เชื่อเลยว่า น้องคงเคยเห็นไม่กี่แบบ หรือนึกได้ ไม่กี่ชนิด แต่ความจริงแล้ว ยามีหลายรูปแบบมาก เช่น ยารูปแบบของแข็ง (ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาแกรนูล ยาเหน็บ) ยารูปแบบของเหลว ( อโรมาติกวอเตอร์ สปิริต อิลิกเซอร์ ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำอิมัลชัน ยาน้ำแขวนตะกอน) ยารูปแบบกึ่งแข็ง (ยาขี้ผึ้ง ครีม เพสต์ เจล) ยารูปแบบไร้เชื้อ (ยาฉีด ยาฝัง ยาตา ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น ฮอร์โมน วัคซีน เซรุ่ม สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือด) ยารูปแบบพิเศษ (ยากัมมันตรังสี ยาแอโรโซล ยาแผ่นแปะ ระบบการนำส่งยาแบบต่างๆ) ซึ่งในการผลิตยา ต้องใช้ความรู้หลายสาขา ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และเครื่องจักรกล มาใช้ในกระบวนการออกแบบยา การประดิษฐ์ยา การพัฒนานวัตกรรมทางยา และกระบวนการผลิตยา

3. กลุ่มวิชาเภสัชกรรมสังคม (Social Pharmacy) :



3.1 สาขาวิชาการบริหารเภสัชกิจ (Pharmacy Administration)



การบริหารเภสัชกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร การจัดการ พฤติกรรมองค์กร การตลาด และการประยุกต์มาใช้ในงานทางเภสัชกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ร้านยา บริษัทยา โรงงานยา ศูนย์วิจัย ห้องปฏิบัติการ หรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จริงๆแล้ว เภสัชกรทุกสาขาก็ต้องใช้ความรู้นี้ แต่ตรงตัวเลยก็คือ เภสัชกรการตลาดในบริษัทยาต่างๆ



3.2 สาขาวิชานิติเภสัชศาสตร์ (Forensic Pharmacy)



นิติเภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานทางเภสัชกรรมและเภสัชกรทุกสาขา เช่น กฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรม กฎหมายยา กฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท กฎหมายยาเสพติด กฎหมายเครื่องสำอาง เป็นต้น และในกระบวนวิชานี้ ยังกล่าวถึงจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งเป็นการศึกษาจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทุกสาขา




4. กลุ่มวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา (Pharmacology and Toxicology) :



4.1 เภสัชวิทยา (Pharmacology)


เภสัชวิทยา เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยากับร่างกายทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงคลินิก โดยมีการศึกษาใน 2 ลักษณะ คือ เภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์เป็นการศึกษาว่าร่างกายทำอะไรกับยา ได้แก่ การดูดซึมยา การกระจายยา การแปรสภาพยา และการขับยา ส่วนเภสัชพลศาสตร์ เป็นการศึกษาว่ายาทำอะไรกับร่างกาย ซึ่งก็คือกลไกการออกฤทธิ์ของยานั่นเอง เช่น การออกฤทธิ์ผ่านทางรีเซปเตอร์, การยับยั้งเอ็นไซม์ เป็นต้น
4.2 พิษวิทยา (Toxicology)



พิษวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสารพิษชนิดต่างๆ ทั้งสารพิษในธรรมชาติและสารเคมีสังเคราะห์ ยาในขนาดที่เป็นพิษ ลักษณะความเป็นพิษต่อร่างกายในระบบต่างๆ กลไกการเกิดพิษ อาการพิษและการรักษา รวมทั้งศึกษาการใช้ ทดลองในการทดลองทางพิษวิทยาด้วย


4.3 ชีวเภสัชศาสตร์ (Biopharmaceutics)
ชีวเภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ยากับร่างกาย โดยศึกษาผ่านทางชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล ชีวประสิทธิผล คือ การศึกษาการดูดซึมของตัวยาเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตเทียบกับปริมาณยาที่ให้ไป ส่วนชีวสมมูล คือการศึกษาเปรียบเทียบการละลายออกของตัวยาจากผลิตภัณฑ์ยาตัวอย่างเทียบกับผลิตภัณฑ์ยาต้นแบบ ซึ่งตัวยาเดียวกันก็อาจมีการละลายตัวยาออกจากผลิตภัณฑ์ในอัตราต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งสูตรตำรับและกระบวนการผลิต




บทสรุป



น้องจะเห็นว่า การเรียนเภสัชนั้น เป็นการบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อการศึกษาเรื่องของ “ยา” เราจึงไม่ได้รู้อย่างเป็ดเหมือนที่บางคนพูด แต่เราคือผู้เชี่ยวชาญเรื่องยาครับ อย่างคนที่เรียนเน้นมาทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม เค้าก็ต้องเชี่ยวชาญด้านการผลิตยา ใช่มั๊ยครับ ? หรือคนที่เรียนเน้นทางด้านเภสัชวิเคราะห์ เค้าก็เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ยา ใช่มั๊ยครับ ? หรือเภสัชกรในโรงพยาบาลเค้าก็เชี่ยวชาญเรื่องการใช้ยาในทางคลินิก ใช่มั๊ยครับ ?

“แล้วอย่างนี้ เภสัชกรจะรู้อย่างเป็ดได้อย่างไร” ในเมื่อเภสัชกรคือผู้เชี่ยวชาญเรื่องยาในด้านต่างๆตามที่กล่าวมาอ่ะครับ ซึ่งพี่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าคนที่พูดแบบนี้ เค้าคิดยังไง หรือเค้ามองมุมไหน ถึงได้เข้าใจผิดซะขนาดนี้

คำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเรียนเภสัชกร

สำหรับคนที่อยากเรียนเภสัช

ไขข้อข้องขัดก่อนตัดสินใจเรียนเภสัชฯ เรียนเภสัชดีไหม? การตัดสินใจเลือกเรียนคณะใด หรือสาขาใดนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการพิจารณาจากข้อมูล และความรู้สึกของตนเอง ว่าในขณะนี้ตนกำลังอยู่ในสถานการณ์ใด เราต้องนำข้อมูล และความรู้สึกที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงมาช่วยในการพิจารณา บางครั้งการมีความฝันเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้ หรือการมีคะแนะที่สูงเพียงอย่างเดียวก็เช่นกัน เราต้องมีทั้งความชอบ ความรัก และความจริง ความจริงในที่นี้ก็คือ คะแนนของเราเอง และสถานการณ์ต่างๆ ที่มีส่วนในการเอื้ออำนวย เช่น สถาบันที่จะศึกษาตั้งอยู่ที่ใด ครอบครัว งบประมาณ ดังนั้นจะทำให้เราเห็นได้ว่า การตัดสินในครั้งนี้เราต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากทั้งในตัวเราเอง และแวดล้อมมาวางแผนให้อย่างรอบคอบและถ้วนถี่ เพื่อให้อนาคตของเรามั่นคง เป็นไปตามแผนที่เรามุ่งหวัง และมีประสิทธิภาพ คณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย มีทั้งหมด 12 แห่ง โดยแบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 10 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 2 แห่ง มีการเรียนการสอน 2 หลักสูตร คือหลักสูตร 5 ปี และ 6 ปี (ศึกษาข้อมูลเพิ่มจากรายละเอียดของแต่ละสถาบัน) ซึ่งทุกสถาบันอยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และสภาเภสัชกรรม สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อเภสัชศาสตร์ ต้องมีการวางแผนให้รอบคอบอย่างถ้วนถี่ ต้องมีการติดตามข่าวสาร และข้อมูลจากสถาบันการศึกษา เภสัชศาสตร์ 12 แห่ง อยู่ตลอด เนื่องจากในแต่ละปีการเปิดรับนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์อยู่ในจำนวนจำกัด และมีเวลาเปิดรับสมัครจำกัด แม้ว่าจะมีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเอกชนรองรับอยู่ถึง 2 แห่ง แต่ในปัจจุบันความต้องการที่จะศึกษาต่อในศาสตร์นี้ค่อนข้างสูง จึงทำให้คณะเภสัชศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเอกชนทั้ง 2 แห่งนี้ ก็มีการแข่งขันในอัตราที่สูงเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะศึกษาต่อเภสัชศาสตร์จึงต้องมีการวางแผนที่ดีและรอบคอบถ้วนถี่ แต่อย่างไรเราก็ต้องถามตัวเราเองเสียก่อนว่าเราจะชอบ รัก มุ่งมั่น อดทน และขยันที่จะเรียนเภสัชศาสตร์จริงหรือไม่ เพียงไร เรียนเภสัชอย่างไร? การศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ในประเทศไทยปัจจุบัน มีอยู่ 2 หลักสูตรใหญ่ๆ คือ หลักสูตร 5 ปี และ 6 ปี โดยมีการเรียนการสอนแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกเป็นการเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิชาอื่นๆ ช่วงที่สองเป็นการเรียนทางด้านเภสัชสาสตร์ในแขนงต่างๆ การเรียนได้แบ่งเป็นสองส่วนคือภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยในช่วงการเตรียมพื้นฐานนั้น เป็นช่วงของการปรับตัว เนื้อหาและรายวิชาจะเป็นความต่อเนื่องมาจากระดับมัธยมศึกษา อาทิ วิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น ก็ล้วนนำเนื้อหาจากระดับมัธยมศึกษามาเรียนในขั้นที่สูงขึ้น ดังนั้นคนที่มีพื้นฐานจากการเรียนในระดับมัธยมที่ดี ก็จะได้เปรียบ แต่ก็อย่าชะล่าใจ เพราะอาจจะพลาดได้เช่นกัน ช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่เรียนวิชาทางเภสัชศาสตร์ในแขนงต่างๆ ก็จะต้องนำความรู้จากภาคเตรียมมาใช้ โดยต้องนำมาประยุกต์ในวิชาต่างๆ แม้แต่วิชาคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์ที่ดูแล้วไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรเลยกับวิชาทางเภสัชศาสตร์ แต่ในความจริงแล้วความรู้ทุกอย่างต้องนำมาใช้ในการเรียนเภสัชสาสตร์ทั้งหมด เช่น การเตรียมยาใน 1 ตำรับ ต้องอาศัยความรู้นอกจากทางด้านเคมีแล้ว ต้องมีหลักของฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ รวมถึงศาสตร์อื่นๆ มาใช้ในการเตรียมตำรับนั้นๆ เพราะเภสัชศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องอิงข้อมูลจากสรรพศาสตร์ โดยนำความรู้มาใช้อย่างบูรณาการ ใครจะไปคิดว่าเราต้องมีความรู้ถึงลักษณะของใบพืช การปลูกต้นไม้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การทำบัญชี การบริหารงานองค์กร กฎหมาย หรือแม้แต่การซ่อมบำรุง และในขณะที่ศึกษานอกจากการเรียนในห้องเรียน และห้องปฏิบัติการแล้ว ผู้ศึกษาต้องผ่านการฝึกปฏิบัติงานในองค์กร หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ ทางด้านเภสัชกรรม อาทิ โรงพยาบาล ร้านยา โรงงานอุตสาหกรรมยา บริษัทยา เป็นต้น ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าการเรียนเภสัชศาสตร์ต้องอาศัยการสะสมความรู้จากหลากหลายสาขามาใช้ เพราะเภสัชกรไม่ใช่เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องการใช้ยาเท่านั้น หากแต่เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องยามากที่สุด และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ทุกคนต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทุกคน ทุกมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จึงจะเป็นเภสัชกรได้อย่างสมบูรณ์ทางกฎหมาย และระเบียบของสภาเภสัชกรรม คนเรียนเก่ง กับคนขยัน ใครจะประสบความสำเร็จในการเรียนเภสัชศาสตร์? คำถามนี้อาจจะตอบยากเสียหน่อย แต่ถ้าต้องการชี้ชัดก็คงต้องตอบว่าคนขยัน และอดทน แต่ที่สำคัญต้องเป็นคนมีเพื่อนด้วย เพราะเนื้อหาในการเรียนค่อนข้างเยอะ งานที่ได้รับมอบหมายก็มาก ดังนั้นการเรียนที่ดีในศาสตร์นี้ ต้องช่วยการเรียน การช่วยในครั้งนี้ต้องช่วยให้ถูกต้อง คือช่วยกันค้นข้อมูล ช่วยย่อจับใจความสำคัญ ประเด็นหรือหลักที่ควรจำ ซึ่งการช่วยกันเรียนจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะช่วยร่นเวลาในการเรียน คือการอ่านหนังสือ การค้นคว้าให้สั้นลง อีกทั้งบางครั้งก็จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้เรามีสติ และขยันเรียนอย่างมีกำลังใจตลอด ภาษาอังกฤษสำคัญไหม? สำคัญ แต่ไม่ต้องตกใจสำหรับใครที่เป็นคู่ขนานกับภาษาอังกฤษ คือเข้ากันไม่ได้ ไม่เข้าใจเสียที วิธีการคือ ฝึกการเปิดหนังสือภาษาอังกฤษบ่อยๆ อีกทั้งศัพท์ที่เราจะต้องเจอกันอย่างประจำทุกวันก็จะช่วยให้เราอ่านภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ซึ่งการค้นคว้าข้อมูลส่วนใหญ่ต้องค้นมาจากตำราภาษาอังกฤษ อาทิ การตั้งตำรับยาเตรียม ต้องเปิดดูหนังสือ เช่น USP, BP เป็นต้น เพื่อนำมาอ้างอิงและใช้ในการตั้งตำรับ หรือแม้กระทั่งการเปิดดูรายละเอียดของยาต่างๆ จาก Drug information และ Mims เป็นต้น ไม่เก่งเคมีแล้วเรียนเภสัชฯได้ไหม? ได้ แต่ค่อนข้างต้องขยันให้มากๆ กว่าคนอื่น ถ้าไม่เข้าใจต้องรีบถาม เหมือนกับการเรียนวิชาอื่นๆ เพียงแต่เราจะต้องเจอเคมีอยู่ตลอด ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจในพื้นฐานของเคมีในด้านต่างๆ และวิชาอื่นๆ ก็เช่นกัน มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันแม้แต่คำนวณ เรียนเภสัชฯต้องเก่งท่องจำ หรือเข้าใจมากกว่ากัน? ทั้งสองอย่าง เพราะต้องเรียนอย่างท่องจำที่เข้าใจ เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างเยอะ หากใช้วิธีจำอย่างเดียว ก็ไม่สามารถจำได้หมด หรือใช้การเข้าใจอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะมันต้องมีสิ่งที่ต้องท่องจำ ดังนั้นเราจึงต้องเรียนอย่างที่เรียกว่า “จำอย่างเข้าใจ” เรียนเภสัชจบแล้วไปไหน? เป็นหนึ่งในคำถามที่หลายคนต้องการรู้ ซึ่งภาพแรกที่ทุกคนนึกถึง ก็คือการเภสัชฯขายยาในร้านยา หรือเภสัชกรในโรงพยาบาล แต่ความจริงผู้ที่สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์สามารถประกอบวิชาชีพ และอาชีพต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. เภสัชกร - เภสัชกรชุมชน (ร้านยา) - เภสัชกรโรงพยาบาล - เภสัชกรโรงงานอุตสหากรรมยา - ผู้แทนยา ฯลฯ 2. อาชีพอื่นๆ - ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร สปา - ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและสุขภาพ - นักวิเคราะห์ ฯลฯ อาชีพเภสัชกรเป็นอาชีพที่ค่อนข้างมีความมั่นคง และเป็นที่ต้องการของสังคมอยู่ตลอด มีความหลากลหายในการประกอบวิชาชีพ และอาชีพอย่างมาก เพราะจากการกล่าวในข้างต้นถึงการเรียนในศาสตร์นี้ จึงทำให้ทราบได้ว่า เภสัชกรเป็นมีความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ค่อนข้างกว้าง สามารถไปเรียนต่อในด้านต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งสามารถนำความรู้มาใช้ในอาชีพอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ความรู้ทางด้านสมุนไพร กับธุรกิจ “สปา” เพื่อสุขภาพ เป็นต้น letterpk@hotmail.com

ยาทางการแพทย์ที่สำคัญ


ชื่อของยาต่างๆ ที่มีขายในร้านขายยาแผนปัจจุบันหรือใช้ในสถานพยาบาล มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
ชื่อทางเคมี แสดงถึงสูตรโครงสร้างโมเลกุลของยา
ชื่อสามัญ เป็นชื่อง่ายๆ รู้จักแพร่หลายกว่าชื่อทางเคมี
ชื่อทางการค้า บริษัทผู้ผลิตยาเพื่อการค้าจะตั้งชื่อจำเพาะของผลิตภัณฑ์ของตน ห้ามซ้ำกัน ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ชื่อที่ชาวบ้านได้ยินจากการโฆษณาทางสื่อต่างๆ คือชื่อการค้านี้เอง


ยกตัวอย่าง ยาลดไข้ แก้ปวด ที่ใช้กันแพร่หลาย คือ พาราเซตามอล มีชื่อดังนี้
ชื่อทางเคมี ชื่อสามัญ พาราเซตามอล


ชื่อทางการค้า พาราเซต เซตามอล ซารา ไทลีนอล ดากา คาลปอล เป็นต้น แม้จะเป็นยาชนิดเดียวกันแต่ราคาจะต่างกันแล้วแต่บริษัทนั้นๆ จะกำหนด


อาจจ่ายเงินน้อยกว่า
หากไม่เจาะจงชื่อการค้าของยา ซึ่งราคาจะตายตัว เราอาจได้ยาที่ต้องการ (ชื่อการค้าของบริษัทใดก็ได้) โดยพอเหมาะ กับ หรือ ประหยัดงบประมาณในกระเป๋าได้ คือ ถ้าเห็นว่าแพงเกินไปก็บอกเภสัชกรให้เปลี่ยนเป็นยาของบริษัทที่ถูกกว่าได้


ไม่รับประทานยาซ้ำซ้อน
ถ้าไม่รู้จักชื่อสามัญของยา เข้าใจว่ายาคนละชื่อ (ทางการค้า) เป็นยาคนละชนิด ก็อาจซื้อยาชนิดเดิมแต่คนละชื่อมากินเสริมเข้าไป ทำให้สิ้นเปลืองเงิน เสียเวลาในการรักษา และอาจเกิดพิษจากยาเกินขนาดได้
ยาแผนปัจจุบันทุกชนิดจะต้องแสดงชื่อสามัญและชื่อจดทะเบียนทางการค้า
ชื่อทางการค้า จะสังเกตได้ว่ามี R หรือ TM กำกับอยู่ใกล้ชื่อ ย่อมาจาก

ตัวอย่างชื่อยา

รายชื่อยา
รายชื่อยาที่ต้องทดสอบ dissolution
1. Acetohexamide
2. Ampicillin
3. Chloramphenicol
4. Chloroquine Phosphate
5. Choroquine sulphate
6. Chorpropamide
7. Chlortetracycline Hydrochloride
8. Dapsone
9. Digitoxin
10. Digoxin
11. Ergotamine
12. Erythromycin
13. Furosemide
14. Griseofulvin
15. Ibuprofen
16. Indomethacin
17. Isoniazid
18. Metformin
19. Methylprednisolone
20. Methysergide
21. Metronidazole
22. Oxytetracycline
23. Phenoxymethylpenicillin Potassium
24. Phenylbutazone
25. Prednisolone
26. Prednisone
27. Piroxicam
28. Praziquantel
29. Quinine Bisulphate
30. Quinine Sulphate
31. Tamoxifen Citrate
32. Tetracycline Hydrochloride
33. Tolbutamide
34. Warfarin
35. Pyrimethamine and Sulfadoxine
36. Rifampicin
รายชื่อยาที่ต้องทดสอบ content uniformity
ยาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทดสอบ content uniformity คือ ตำรับยาที่ในหนึ่งหน่วยของ Dosage- form มีปริมาณตัวยาสำคัญเท่ากับหรือน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม หรือตำรับยาที่มีปริมาณตัวยาสำคัญน้อยกว่า 2% w/w ของ unit dosage-form ตำรับยานั้นต้องกำหนดมาตรฐานและวิธีทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในหนึ่งหน่วย (Content Uniformity) ตามตำรับบริติชฟาร์มาโคเปีย ฉบับ ค.ศ. 1988
ยาที่ต้องทดสอบ bioequivalence ได้แก่ยาสามัญที่ทำเลียนแบบยาใหม่ที่พ้นระยะการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไขแล้ว (ปลด SMP) เช่น
- Amlodipine
- Azithromycin
- Ciprofloxacin
- Clarithromycin
- Doxazosin
- Fluconazole
- Lamivudine
- Levofloxacin
- Nevirapine
- Ofloxacin
- Stavudine
- Zidovudine
รายการยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับ นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2540
- ยาผสมที่มี Ethisterone เป็นส่วนประกอบ
- Quinoblue (Quinine dihydrochloride ผสมกับ Methylene blue)
- ยาที่มี Butorphanol เป็นส่วนประกอบ
- ยาที่มี Fenfuramine and dex-fenfluramine เป็นส่วนประกอบ
- ยาที่มี Amineptine เป็นส่วนประกอบ
- ยาที่มี Troglitazone เป็นส่วนประกอบ
- ยาที่มี Astemizole เป็นส่วนประกอบ
- ยาที่มี Terfenadine เป็นส่วนประกอบ
- ยาที่มี Phenylpropanolamine เป็นส่วนประกอบ
- ยาสัตว์ทุกตำรับที่มีตัวยา Nitrofurazone, Furazolidone, Dimetridazole และ
Ronidazole
ยาที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก
- ให้ยาแผนปัจจุบันทุกชนิดที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ 16 พฤศจิกายน 2545)
ยากลุ่มเพนนิซิลิน ตัวอย่างเช่น
- Amoxycillin
- Ampicillin
- Cloxacillin
- Dicloxacillin
- Penicillin
- Phenoxymethyepenicillin
- Piperacillin
- Sultamicillin

เทคโนโลยี เภสัชกร

เทคโนโลยีเภสัชกรรม
ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับ
การแนะนำเภสัชตำรับ ตำราอ้างอิง และวารสารต่างๆ ทางเภสัชศาสตร์ รูปแบบยาเตรียมชนิดต่างๆ ลักษณะใบสั่งยาและภาษาที่ใช้ในใบสั่งยา การคำนวณทางเภสัชกรรม การชั่ง ตวงวัด และอาลิควอท ตลอดจนความรู้ต่างๆ ตามเภสัชตำรับ
เป็นเรื่องของ สมบัติทางเคมีกายภาพต่างๆ ของผงยา หน่วยการผลิตต่างๆ รูปแบบยาเตรียมต่างๆ ที่เป็นของแข็ง โดยเน้นการศึกษาอย่างละเอียดของยาเตรียมของแข็งแต่ละรูปแบบเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับและการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ ตัวอย่างยาเตรียมตามเภสัชตำรับ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
เป็นวิชาที่ศึกษาถึงสมบัติทางเคมีกายภาพต่างๆ ของสารละลาย เทคนิคการทำให้น้ำยาใส เทคนิคการสกัดและผลิตภัณฑ์ยาสกัดและรูปแบบยาเตรียมน้ำใสต่างๆ โดยเน้นการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับและการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือการบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ และตัวอย่างยาเตรียมน้ำใสตามเภสัชตำรับและจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
รูปแบบยาน้ำกระจายตัว และยากึ่งแข็ง โดยเน้นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม สมบัติทางเคมีกายภาพ ส่วนประกอบของตำรับ วิธีตั้งตำรับ และการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์การเก็บรกัษา การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และตัวอย่างยาน้ำแขวนตะกอนและยากึ่งแข็งตามเภสัชตำรับ และจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเตรียมยาไร้เชื้อ และประเภทรูปแบบยาเตรียมไร้เชื้อต่างๆ โดยเน้นศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับ คุณลักษณะของรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับ และการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และตัวอย่างของยาเตรียมตามเภสัชตำรับ รวมทั้งการผสมตัวยาอื่นกับการให้ยาทางหลอดเลือดดำ และการให้สารอาหารทางหลอดเลือด การควบคุมและการประเมินความถูกต้องของกระบวนการผลิตยาไร้เชื้อ
ศึกษาถึงหลักการ สมบัติทางเคมีกายภาพ การตั้งสูตร ตลอดจนการประเมินและการควบคุมคุณภาพของยาเตรียมละอองลอย ยากัมมันตรังสี และยาเตรียมรูปแบบใหม่ๆ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้

เพื่อให้สามารถ
ใช้ตำราอ้างอิง และวารสารต่างๆ ทางเภสัชศาสตร์ได้
อธิบายรูปแบบยาเตรียมชนิดต่างๆ ได้
รู้จักลักษณะของใบสั่งยา และแปลความหมายของภาษาที่ใช้ในใบสั่งยาได้
คำนวณทางเภสัชกรรม และบอกวิธีการปฏิบัติในการชั่ง ตวง วัด และอาลิควอทได้
อธิบายความรู้เรื่องต่างๆ ตามเภสัชตำรับได้
อธิบายสมบัติทางเคมีกายภาพต่างๆ ของผงยา และปัจจัยต่างที่เกี่ยวข้อง
เข้าใจหน่วยการผลิตต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตยาและเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับความต้องการในการผลิต
อธิบายลักษณะและส่วนประกอบของตำรับยาที่อยู่ในรูปแบบยาเตรียมของแข็งชนิดต่างๆ และการเลือกใช้สารช่วยต่างๆ
อธิบายวิธีเตรียมยารูปแบบของแข็งชนิดต่างๆ และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
อธิบายวิธีควบคุมคุณภาพและประเมินผลยาเตรียมรูปแบบของแข็งชนิดต่าง
เลือกใช้วิธีบรรจุและชนิดของบรรจุภัณฑ์ให้เมาะสมกับรูปแบบของแข็งชนิดต่างๆ
รู้จักตัวอย่างของยาเตรียมรูปแบบของแข็งที่มีขายในท้องตลาด
อธิบายลักษณะและส่วนรปะกอบของยาน้ำกระจายตัวและยากึ่งแข็งได้
ตั้งตำรับ พัฒนาตำรับ เตรียมยาตลอดจนสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการเตรียมอธิบายการบรรจุและการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับยาน้ำกระจายตัวและยากึ่งแข็งได้
บอกวิธีเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพของยานำกระจายตัวและยากึ่งแข็งตามเภสัชตำรับและจากผลิตภัณฑ์ธรรชาติได้
ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเตรียมยาไร้เชื้อต่างๆ ได้ และสามารถนำไปประยุกต์ในการผลิตและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไร้เชื้อประเภทต่างๆ ได้
คุณลักษณะและส่วนประกอบของตำรับยาเตรียมไร้เชื้อแต่ละชนิดได้ การตั้งตำรับการพัฒนาตำรับ การเตรียมและการใช้เครื่องมือในการเตรียม การบรรจุและการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมได้
เข้าใจถึงหลักการ สมบัติทางเคมีกายภาพ และสามารถประยุกต์ความรู้ความเข้าใจในการตั้งสูตร และประเมินคุณภาพของยาเตรียมละอองลอย
คุ้นเคยกับยากัมมันตรังสี และรู้จักยาเตรียมใหม่ๆ
ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการแนะนำการวิจัย หลักการและวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการของการวิจัย ตลอดจนขั้นตอนต่างๆ ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ให้สามารถนำไปประยุกต์ในการวิจัยต่อไปได้ (ในการเขียนโครงร่างปัญหาพิเศษได้)
หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา
ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา แนวปฏิบัติในระบบการผลิต ได้แก่ บุคลากร สถานที่ผลิต การสุขาภิบาล อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ วัตถุดิบ การบรรจุ ทั้งทางด้านการผลิต ควบคุมคุณภาพ การประเมินความถูกต้องของการผลิตและเอกสารการผลิต เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพมาตรฐานและและปลอดภัย รวมทั้งการประกันคุณภาพในด้านอื่นๆ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถอธิบายและประยุกต์หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา เพื่อให้ได้ยาที่มาตรฐานมีคุณภาพ และผลิดภัย
การผลิตเภสัชภัณฑ์สำหรับสัตว์
ลักษณะกระบวนวิชา เป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาสัตว์ โรคสัตว์ รวมทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการในการตั้งสูตร เทคนิคการผลิตและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุ การควบคุมคุณภาพ การประเมินผลยาเตรียมประเภทต่างๆ และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ในขั้นอุตสาหกรรม
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เรียนรู้ถึงทฤษฎีและการปฏิบัติในการผลิตยาเตรียมประเภทต่างๆ และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ในขั้นอุตสาหกรรม
การผลิตยาจากสมุนไพร
ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการตั้งและพัฒนาตำรับยาที่มีตีวยาสำคัญ หรือส่วนประกอบจากพืชสมุนไพร
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถฝึกฝนและพัฒนาการเตรียมตำรับจากพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
เครื่องสำอาง
ลักษณะกระบวนวิชา หลักพื้นฐานในการผลิตเครื่องสำอางประเภทต่างๆ สมบัติทางเคมี กายภาพและทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การทดสอบประสิทธิภาพการใช้และความคงตัวของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาหลักสูตรและวิธีการผลิต เทคนิคการแต่งสี แต่งกลิ่น การใช้สารลดแรงตึงผิว การใช้สารกันบูด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย ตลอดจนศึกษาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้เครื่องสำอางประเภทต่างๆ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบถึงทฤษฎีและเทคนิคพื้นฐานในการผลิตเครื่องสำอางประเภทต่างๆ เพื่อการนำมาใช้เป็นหลักในการผลิตขั้นอุตสาหกรรม
ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีเภสัชกรรม
ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษาปัญหาพิเศษทางเทคโนโยเภสัชกรรมที่น่าสนใจ โดยการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำของคณาจารย์ เขียนรายงานส่งพร้อมทั้งเสนอรายงานต่อคณาจารย์
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อฝึกให้สามารถนำความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีเภสัชกรรมมาประยุกต์ในการค้นคว้า วิจัยแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
ด • พ • กวิทยาศาสตร์สุขภาพ > เภสัชศาสตร์

วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม เภสัชเคมี · เภสัชภัณฑ์ · เภสัชอุตสาหกรรม · เภสัชเวท · เภสัชพฤกษศาสตร์ · เภสัชวิเคราะห์ · เทคโนโลยีเภสัชกรรม · วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

เภสัชบริบาลศาสตร์ เภสัชกรรมคลินิก · เภสัชกรรมโรงพยาบาล · เภสัชกรรมชุมชน

เภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร เภสัชศาสตร์สังคม · บริหารเภสัชกิจ · เภสัชสาธารณสุข · เภสัชระบาดวิทยา · เภสัชเศรษฐศาสตร์ · นิติเภสัชศาสตร์

เภสัชวิทยาและพิษวิทยา เภสัชวิทยา · เภสัชจลนศาสตร์ · เภสัชพลศาสตร์ · พิษวิทยา

ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เคมีอินทรีย์ · เคมีฟิสิกส์ · ชีวเคมี · จุลชีววิทยา · กายวิภาคศาสตร์ · สรีรวิทยา · สาธารณสุข

หลักเภสัชกร

หลักเภสัช 4 ประการ



ผู้ที่จะเป็นหมอ จะต้องศึกษาในหลักใหญ่ 4 ประการซึ่งเป็นหลักวิชาที่สำคัญที่สุดของเภสัชกรรมไทยที่จะเว้นเสียมิได้ เรียกว่า รู้ในหลักเภสัช 4 มีดังต่อไปนี้


1.เภสัชวัตถุ คือ ต้องรู้จักวัตถุธาตุนานาชนิด ที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
2.สรรพคุณเภสัช คือ ต้องรู้จักรสและสรรพคุณของยา และวัตถุธาตุ ที่จะ
นำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรค
3.คณาเภสัช คือ ต้องรู้จักพิกัดยา คือ ตัวยาหลายสิ่งหลายอย่างที่โบราณา-
จารย์นำมาจัดไว้เป็นหมวดหมู่
4.เภสัชกรรม คือ ต้องรู้จักการปรุงยาตามวิธีกรรมแผนโบราณ ตลอดจน
รู้จักมาตราชั่ง ตวง ของไทยและสากล.








การรู้จักตัวยา 5 ประการ



ผู้เป็นหมอจะต้องรู้จักตัวยา 5 ประการ ซึ่งโบราณาจารย์ได้ใช้เป็นหลักในการ
พิจารณา เพื่อให้รู้จักตัวยาต่างๆ อย่างถูกต้อง

การรู้จักตัวยา 5 ประการนี้ เป็นวิธีการดูและจำแนกตัวยา ว่าตัวยานั้นๆ เป็น
เครื่องยาชนิดเดียวกันกับที่แสดงไว้ในตำรับยา หรือตรงตามตัวยาที่ต้องการ
หรือไม่ โดยพิจารณาตามหลัก 5 ประการดังนี้

1.รู้จักรูปลักษณะ คือ รู้ว่าตัวยานั้นๆ มี รูปลักษณะอย่างไร เช่น
ในพืชวัตถุ รู้ว่าเป็น ต้น ใบ ดอก แก่น กระพี้ ฝัก เนื้อ ผล ยาง เป็นต้น
ในสัตว์วัตถุ รู้ว่าเป็น หัว หนัง นอ ดี กราม กรวด กระดูก เลือด ฟัน เป็นต้น
ในธาตุวัตถุ รู้ว่าเป็น บัลลังก์ศิลา เกลือสมุทร กำมะถันแดง ทองคำ เป็นต้น

2.รู้จักสี คือ รู้ว่าตัวยานั้นๆ มีสีเป็นอย่างไร เช่น แก่นฝางเสน มีสีส้ม
ผักแพวแดง มีสีแดง รงทอง มีสีเหลือง กำมะถันแดง มีสีแดง กระดองปลาหมึก มีสีขาว งาช้าง มีสีขาว จุนสี มีสีน้ำเงิน เป็นต้น

3.รู้จักรส คือ รู้ว่าตัวยานั้นๆ มีรสเป็นอย่างไร เช่นอย่างที่โบราณาจารย์นำ
มาจัดไว้เป็นหมวดหมู่

4.เภสัชกรรม คือ ต้องรู้จักการปรุงยาตามวิธีกรรมแผนโบราณ ตลอดจน
รู้จักมาตราชั่ง ตวง ของไทยและสากล

เภสัชกรดีเด่นปี2548

เภสัชกรดีเด่น



เภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่นด้านบริการเภสัชสนเทศประจำปี พ.ศ. 2548 ได้แก่ เภสัชกรหญิงจันทิมา โยธาพิทักษ์:



เภสัชกรหญิงจันทิมา โยธาพิทักษ์ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปีพ.ศ.2532 และเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ในปีพ.ศ.2544 ได้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างปี พ.ศ.2532-2534 แล้วย้ายมาเป็นเภสัชกร กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์จนถึงปีพ.ศ.2536 หลังจากนั้นได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านยาและพิษวิทยา จนถึงปัจจุบัน



จากการเริ่มงานในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชนตั้งแต่ต้น ทำให้เภสัชกรหญิงจันทิมาได้เรียนรู้และมีโอกาสทำงานประสานกับบุคลากรระดับต่างๆ ตั้งแต่ยังเป็นหน่วยงานเล็ก และด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับวิชาชีพอื่นในโรงพยาบาล ประกอบกับนิสัยการทำงานอย่างตั้งใจ ทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจและเวลา ดังนั้น เมื่อได้รับมอบหมายให้เริ่มงานบริการข้อมูลข่าวสารด้านยา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จึงสามารถพัฒนางานให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีความพยายามในการจัดหาและพัฒนาแหล่งข้อมูลเป็นจำนวนมากทำให้การสืบค้นข้อมูลมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังให้บริการด้วยความเต็มใจกับบุคลากรทางการแพทย์ต่างๆ ในโรงพยาบาลและประชาชนทั่วไป ในที่สุด เมื่อได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านยาและพิษวิทยา จึงมีผลงานเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาชีพอย่างกว้างขวาง สามารถทำประโยชน์ในการสนับสนุนงานรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้ทั่วประเทศ



นอกจากการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแล้ว เภสัชกรหญิงจันทิมา ยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษ นำเสนอประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้อันเป็นประโยชน์ให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และงานวิชาชีพด้วย รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มในการนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการสืบค้นหาปัญหาและปรับปรุงแก้ไข ทำให้มีการพัฒนาการทำงานอยู่เสมอ



เภสัชกรหญิงจันทิมา เป็นผู้มีนิสัยใฝ่ศึกษาหาความรู้เพื่อการพัฒนาการทำงานอย่างไม่หยุดยั้ง และด้วยคุณสมบัติที่ดีในการปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ ทุ่มเท และบริการด้วยความเต็มใจ จึงถือเป็นแบบอย่างที่ดีของเภสัชกรโรงพยาบาล ในการเป็นที่พึ่งของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปด้านแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับยา ช่วยสนับสนุนให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ และทำให้บทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมมีความโดดเด่น เป็นที่ยอมรับกว้างขวางทั่วไป ไม่เฉพาะภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น รวมทั้งยังมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพตีพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนมากอีกด้วย



จากผลงานดีเด่นดังกล่าว สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย) ในคราวประชุมครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2548 จึงมีมติให้ เภสัชกรหญิงจันทิมา โยธาพิทักษ์ เข้ารับมอบรางวัลเภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่น ด้านบริการเภสัชสนเทศ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป



เภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่นด้านเภสัชกรรมชุมชนประจำปี พ.ศ. 2548 ได้แก่ เภสัชกรหญิงณัฐธิรส ศรีบุญเรือง:


เภสัชกรหญิงณัฐธิรส ศรีบุญเรือง จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปีพ.ศ.2534 และสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปีพ.ศ.2541 ชีวิตการทำงานเริ่มจากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างพ.ศ. 2534-2536 และย้ายไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2536 จนถึงปัจจุบัน ควบคู่กับตำแหน่งผู้จัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพ



เนื่องจากนายแพทย์ไกร ดาบธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่อาย มีแนวคิดในการพัฒนาชุมชนและเข้าใจกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการสร้างองค์กรให้มีการทำงานเป็นทีมและมีความรู้สึกร่วมกันว่าความสำเร็จในการพัฒนาเป็นผลงานของทุกคน เภสัชกรหญิงณัฐธิรส นับเป็นกำลังสำคัญในกระบวนการพัฒนาดังกล่าว ครอบคลุมทั้งการพัฒนางานบริการเภสัชกรรม การกระตุ้น ผลักดัน บุคลากรในโรงพยาบาล ให้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค ในส่วนของผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพ และส่งเสริมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งการพัฒนางานแพทย์แผนไทยและสมุนไพร งานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาแก่ประชาชน ผ่านสื่อวิทยุชุมชนมะลิกา และการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ที่สำคัญคือ การพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ทำให้มีระบบสารสนเทศที่ดี ทันสมัย สามารถประมวลข้อมูลต่างๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพทั้งงานบริหารและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้โรงพยาบาลแม่อายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถประสานระบบคุณภาพต่างๆเข้าด้วยกัน บรรลุเป้าหมายในการเป็นโรงพยาบาลต้นแบบ ที่มีมาตรฐาน สร้างความไว้วางใจ และประทับใจแก่ประชาชนทุกระดับ



ด้วยความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และด้วยจิตใจในการมุ่งพัฒนา การเรียนรู้ของบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งการพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เภสัชกรหญิงณัฐธิรส จึงถือเป็นแบบอย่างที่ดีของเภสัชกรชุมชน ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของบุคลากรต่างวิชาชีพรวมทั้งประชาชน ทั้งภายในองค์กรและในระดับชุมชน จนได้รับคัดเลือกให้เป็นข้าราชการที่มีผลงานดีเด่นจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ประจำปี2547 เป็นที่ปรึกษากระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลและการพัฒนาคุณภาพงานเภสัชกรรม ทั้งในระดับจังหวัด และระดับประเทศด้วย



จากผลงานดีเด่นดังกล่าว สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ในคราวประชุมครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2548 จึงมีมติให้ เภสัชกรหญิงณัฐธิรส ศรีบุญเรือง เข้ารับมอบรางวัลเภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่น ด้านเภสัชกรรมชุมชน เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป



เภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่นด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมประจำปี พ.ศ. 2548 ได้แก่ เภสัชกรหญิงอัมพร จันทรอาภรณ์กุล:



เภสัชกรหญิงอัมพร จันทรอาภรณ์กุล จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปีพ.ศ.2543 และเข้าปฏิบัติงานในฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่จบการศึกษาจนถึงปัจจุบัน หลังจากปฏิบัติงานบริการจ่ายยาได้ประมาณ 1 ปีเศษ ภญ.อัมพรได้รับมอบหมายจากฝ่ายเภสัชกรรมให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการให้คำปรึกษาแนะนำด้านยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน (Drug Counselling Program for Warfarin Therapy) โดยจัดเป็นโครงการร่วมระหว่างสหสาขาวิชาชีพประกอบไปด้วยแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่เวชนิทัศน์ ในช่วงแรกที่เริ่มงาน บทบาทหลักคือการให้ความรู้ผู้ป่วย โดยทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลของการใช้ยา วิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง ความสำคัญของการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง การมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ การเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการข้างเคียงเบื้องต้นและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในระหว่างที่ใช้ยาวาร์ฟาริน โดยวิธีการประเมินผลในช่วงแรกนี้คือ การทำแบบทดสอบก่อนและหลังการให้ความรู้ผู้ป่วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่งและได้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวในงานประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลในปี 2545



จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน งาน warfarin clinic ที่โรงพยาบาลศิริราชได้พัฒนาขึ้นอย่างน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง โดยบทบาทในปัจจุบันได้ขยายมาเป็นการให้บริบาลทางเภสัชกรรมที่เต็มรูปแบบและได้มาตรฐานสากลเท่าเทียมกับต่างประเทศ นอกเหนือจากการให้บริการพื้นฐานเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ป่วยข้างต้นแล้ว ภญ.อัมพรและคณะยังได้มีบทบาทในการค้นหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาแก่แพทย์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของแพทย์เป็นอย่างดี จากการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกล่าสุดในปี 2547 พบว่า warfarin clinic นี้ ช่วยทำให้การรักษาบรรลุเป้าหมายมากขึ้น มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการเกิดก้อนเลือดอุดตันและภาวะเลือดออกน้อย ลงกว่าในอดีต อีกทั้งยังสามารถช่วยค้นหาและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาอื่นๆ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างยา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับได้ว่าภญ.อัมพรและคณะได้ทำประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการอย่างน่ายกย่อง และยังทำให้บทบาทของเภสัชกรเป็นที่ยอมรับของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ อีกด้วย



นอกเหนือจากการให้บริการผู้ป่วยแล้ว ภญ.อัมพรและคณะยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวิชาชีพโดยรับเป็นแหล่งฝึกให้แก่นักศึกษาเภสัชศาสตร์แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง และยังเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานสำหรับเภสัชกรโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ Anticoagulation Traineeship ภายใต้การดูแลของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลอีกด้วย ผลจากการส่งเสริมวิชาชีพดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันมี warfarin clinic หลายแห่งถือกำเนิดขึ้นโดยมี warfarin clinic ของโรงพยาบาลศิริราชเป็นต้นแบบ ทำให้ผู้ป่วยไทยอีกจำนวนมากได้รับประโยชน์จากยาอย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัย



สิ่งที่น่ายกย่องเกี่ยวกับภญ.อัมพรคือ การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การทำงานโดยยึดถือเอาประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง ความเสียสละและทุ่มเทให้กับงาน และการมีความคิดริเริ่มที่จะพัฒนาโดยการก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา



ภญ.อัมพรได้พัฒนาตนเองจากผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับยาวาร์ฟารินที่จำกัดมากและไม่แตกต่างจากเภสัชกรที่จบใหม่คนอื่นๆ มาเป็นผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในระดับที่เท่าเทียมกับผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับสูงจากต่างประเทศในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเป็นหลัก สิ่งนี้ถือเป็นแบบอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า เภสัชกรธรรมดาคนหนึ่ง หากมีความมุ่งมั่นและตั้งใจเพียงพอ ก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง จนถึงระดับที่สามารถทำประโยชน์ให้กับผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่และเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ สมควรเป็นแบบอย่างของเภสัชกรอื่นๆ ที่สนใจทำงานเภสัชกรรมคลินิกได้



การที่ภญ.อัมพรได้พัฒนางานจากการให้ความรู้ผู้ป่วยมาเป็นการให้บริบาลทางเภสัชกรรมอย่างเต็มรูปได้ต้องอาศัยทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและความคิดริเริ่มในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดริเริ่มของภญ.อัมพร ได้แก่ การจัดทำอุปกรณ์และสื่อที่ใช้ประกอบการให้ความรู้ผู้ป่วย และเทคนิคการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีระดับการศึกษาในระดับใด รวมถึงการพัฒนาการประเมินผล จากการทำแบบสอบถามบนกระดาษ จนปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ประเมินข้อมูลทางคลินิกที่สำคัญอื่นๆ นอกจากนี้ ภญ.อัมพรยังได้นำข้อมูลและแบบฟอร์มต่างๆที่ผ่านการคิดค้นและพัฒนาไว้แล้วเหล่านี้ใส่ไว้ในเว็บไซต์ของฝ่ายเภสัชกรรม ซึ่งเผยแพร่ไปยังเภสัชกรและผู้สนใจอื่นๆ ให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไปอีกด้วย



ด้วยผลงานดีเด่นดังกล่าว สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ในคราวประชุมครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2548 จึงมีมติให้ เภสัชกรหญิงอัมพร จันทรอาภรณ์กุล เข้ารับมอบรางวัลเภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่น ด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป



เภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่นด้านบริหารงานเภสัชกรรมประจำปี พ.ศ. 2548 ได้แก่ เภสัชกรอำนวย พฤกษ์ภาคภูมิ:




เภสัชกรอำนวย พฤกษ์ภาคภูมิ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพ.ศ.2523 และสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพ.ศ.2534 รวมทั้งได้รับปริญญาบัตรและวุฒิบัตรอื่น ๆ เริ่มปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปีพ.ศ. 2523-2528 แล้วย้ายมารับตำแหน่งหัวหน้างานคลังเภสัชภัณฑ์ หัวหน้างานผลิตยา และรองหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร ตามลำดับ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2528-2539 และได้รับตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร ในปีพ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน



จากความตั้งใจและมุ่งมั่นในวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล เมื่อย้ายมาปฏิบัติงานในกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร เภสัชกรอำนวยได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำมาพัฒนางานด้านต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นกำลังสำคัญของเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ทำคุณประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยเข้าร่วมเป็นกรรมการในการพัฒนางานเภสัชกรรมโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ทั้งงานบริหารคลังเวชภัณฑ์ งานบริการเภสัชกรรม และงานผลิต โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานเภสัชกรรมด้วย และเมื่อโรงพยาบาลสมุทรสาครสมัครเข้าร่วมกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) ทำให้มีโอกาสในการพัฒนาบทบาททางวิชาชีพเริ่มมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร และบุคคลในสายวิชาชีพอื่น



ด้วยความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานหลายหน้าที่ในกลุ่มงานเภสัชกรรม เมื่อได้รับตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงาน เภสัชกรอำนวยจึงบริหารจัดการด้วยความเข้าใจและไม่ย่อท้อต่อปัญหาหรืออุปสรรค ทำให้ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากเภสัชกรในทีมนำของกลุ่มงาน มีการปรับปรุงพัฒนางานอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยการส่งเสริมและกระตุ้นให้ทุกคนในทีมนำมีส่วนร่วมในการแสดงศักยภาพ ร่วมเสนอความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และทำงานด้วยความสามัคคี ทำให้บทบาททางวิชาชีพเป็นที่ยอมรับของวิชาชีพอื่นๆ และเกิดแนวคิดในการพัฒนางานด้วยรูปแบบเชิงรุก เช่น งานบริการเภสัชกรรมจ่ายยาผู้ป่วยนอกเชิงรุก เป็นต้น นับเป็นแบบอย่างที่ดีของหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์และยอมรับทั้งในแวดวงวิชาชีพและในสังคม จากการได้รับคัดเลือกให้เป็นเภสัชกรดีเด่นจากชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาล ทั่วไป ในปี 2534 และได้รับเข็มบุรฉัตรจากกรมทหารสื่อสารที่ 1 ในการเป็นผู้บำเพ็ญคุณความดี และมีเกียรติ ในปี 2545 นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าที่เห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้วย โดยการสนับสนุนให้เภสัชกรในกลุ่มงานได้ศึกษาเพิ่มเติมด้านเภสัชกรรมคลินิก เพื่อพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นับเป็นผู้บริหารงานเภสัชกรรมที่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในภาพรวม



จากผลงานดีเด่นดังกล่าว สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ในคราวประชุมครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2548 จึงมีมติให้ เภสัชกรอำนวย พฤกษ์ภาคภูมิ เข้ารับมอบรางวัลเภสัชกรโรงพยาบาลดีเด่น ด้านบริหารงานเภสัชกรรม เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ประกาศเกียรติคุณเภสัชกรดีเด่นปี2552

ประกาศเกียรติคุณเภสัชกรดีเด่น ประจำปี 2552
จากสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย

ด้านบริการเภสัชสนเทศ : ภญ.สุชาดา ธนภัทร์กวิน (ศิษย์เก่า ม.อ รุ่นที่ 8)
รับราชการที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์และวชิรพยาบาล
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยวิชาการเภสัชกรรม

เภสัชกรคุณากร : ภก.สันติ เบ็ญอาบัส (ศิษย์เก่า ม.อ รุ่นที่ 14 )
รับราชการที่โรงพยาบาลทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ตำแหน่ง เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน

เภสัชกรคืออะไร

เภสัชกร

เภสัชกร (อังกฤษ: Pharmacists) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry (PhC)) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม ("Pharmaceutical Chemists") โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" ('Boots The Chemist')




คุณสมบัติของเภสัชกร
1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาเภสัชศาสตร์

2.มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี

3.รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง

4.มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสคร์ เคมีชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้

5.ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์

6.ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต

7.มีความซื่อสัตย์

8.ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา

ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการจดทะเบียน (registration) เป็นเภสัชกรรับอนุญาตจะต้องเป็น ผู้ที่เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับปริญญาดังนี้

เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (Bachelor of Pharmacy (BPharm))
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต(ภม) (Master of Pharmacy (MPharm))
เภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต (ภบ.บ.) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (บริบาลเภสัชกรรม) (Doctor of Pharmacy (PharmD))
ระยะเวลาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษาจแตกต่างในแต่ละประเทศดังนี้

ประเทศไทยใช้เวลา 5 ปี ได้ ภบ (BPharm) หรือเรียน 6 ปี ได้ ภบบ (PharmD)
สหภาพยุโรป (European Union) รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภบ (BPharm) ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเรียน 4 ปี ได้ ภม (MPharm) เลย
ประเทศออสเตรเลียใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภม (MPharm)
สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภบบ (PharmD) มีฐานะเทียบเท่า พบ (medical doctor (MD))
หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
หลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีดังนี้

เภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutics)
เคมีเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical chemistry) หรือเคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
จุลชีววิทยา (Microbiology)
เคมี (chemistry)
ชีวเคมี (Biochemistry)
เภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmaceutical Botany)
เภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy)
เภสัชอุตสาหกรรม (Industrial Pharmacy)
สรีรวิทยา (Physiology)
กายวิภาคศาสตร์ (anatomy)
อาหารเคมี (Foods Science)
เภสัชกรรม (Pharmacy)
กฎหมายยา (pharmacy law)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
ไตวิทยา (nephrology)
ตับวิทยา (hepatology)
ปฏิบัติการเภสัชกรรม (Pharmacy practice) ประกอบด้วย ปฏิกิริยาระหว่างยา, การติดตามผลการใช้ยา (medicine monitoring) การบริหารการใช้ยา (medication management)
บริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)บูรณาการด้านการใช้ยากับผู้ป่วย และดูแลติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอเพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้

ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน
ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)
สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้
การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX)
การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)
หน้าที่ของเภสัชกร
ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
ปรุงยา (compounding medicines)
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรมพอจำแนกได้ดังนี้:

เภสัชกรคลินิก Clinical pharmacist
เภสัชกรชุมชน Community pharmacist
เภสัชกรโรงพยาบาล Hospital pharmacist
เภสัชกรที่ปรึกษาการใช้ยา Consultant pharmacist
เภสัชกรสุขภาพอนามัยทางบ้าน Home Health pharmacist
เภสัชกรบริหารข้อมูลยา Drug information pharmacist
เภสัชกรสารวัตรยา Regulatory-affairs pharmacist
เภสัชกรอุตสาหกรรม Industrial pharmacist
อาจารย์เภสัชกร Academic pharmacist

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ Faculty of Pharmaceutical Sciences
Chulalongkorn university

วันจัดตั้ง 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456

คณบดี รศ.ภญ.ดร.พิณทิพย์ พงษ์เพ็ชร

วารสาร วารสารไทยเภสัชสาร
สีประจำคณะ ███ สีเขียวมะกอก
สัญลักษณ์คณะ งูศักดิ์สิทธิ์พันถ้วยยาไฮเกีย
สถานปฏิบัติการ โอสถศาลา




ที่อยู่
254 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "โรงเรียนแพทย์ปรุงยา" ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วย

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมเป็นแผนกปรุงยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็นแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ย้ายสังกัดหลายครั้ง ซึ่งภายหลังได้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะศิลปกรรมศาสตร์) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีได้เปิดการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ทั้ง 2 หลักสูตรใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 7 ภาควิชา และยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ-ชิบะ, โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต คณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น




ประวัติ

ด้านหน้าอาคารเภสัชศาสตร์การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของไทยในแบบตะวันตก เริ่มต้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระดำริของสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถซึ่งประทานแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยในขณะนั้น ถึงเรื่องการตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร จึงได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย" ด้วยพระดำริให้มีการศึกษาเภสัชศาสตร์อย่างเป็นระบบ จึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสยาม โดยประกาศเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เรื่อง "ระเบียบการจัดนักเรียนแพทย์ผสมยา พ.ศ. 2457" เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันก่อตั้งวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย และถือเป็นวันกำเนิดคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์เริ่มต้นการสอนในโรงเรียนราชแพทยาลัยในแผนกปรุงยา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรแพทย์ปรุงยา โดยมีนักเรียนจบการศึกษาในรุ่นแรก 4 คน ต่อมาได้มีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น กระะทรวงธรรมการจึงได้ประกาศให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ามาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์จึงได้ยกระดับขึ้นสู่ระดับอุดมศึกษา และได้มีพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 กำหนดจัดตั้งแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ และเปลี่ยนวุฒิเป็น "ประกาศนียบัตรเภสัชกรรม (ป.ภ.)" เทียบเท่าอนุปริญญา โดยให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รักษาการตำแหน่งหัวหน้าแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์อีกตำแหน่งด้วย

การปรับปรุงการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ดำเนินอย่างสืบเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2479 ได้ยกระดับหลักสูตรเป็น "อนุปริญญาเภสัชศาสตร์" ใช้ระยะเวลาศึกษา 3 ปี เป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาทางเภสัชศาสตร์อย่างกว้างขวาง และนำเอาวิชาทางการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาบรรจุในหลักสูตรดังกล่าวโดยเริ่มใช้ในปีการศึกษาต่อมา และมีการแบ่งแผนกวิชาต่างๆ ขึ้นตามกฎหมาย แม้กระนั้นการศึกษาเภสัชศาสตร์ก็ไม่ได้รับความสนใจต่อผู้เข้าการศึกษามากนัก จนกระทั่ง เภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2482[2] และได้จัดการศึกษาเภสัชศาสตร์ขึ้นอย่างเต็มรูปแบบโดยยกระดับหลักสูตรเภสัชกรรมศาสตร์จนถึงระดับปริญญา (หลักสูตร 4 ปี) และจัดสร้างอาคารเรียนถาวรของแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 (อาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน)

ต่อมาเมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2485 จึงได้โอนแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปเป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ใช้บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนกระทั่งวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล จึงย้ายกลับเข้าสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 118 ลงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2515

ในปี พ.ศ. 2525 คณะเภสัชศาสตร์ได้ย้ายอาคารเรียนไปยังบริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดโครงการเภสัชกรคู่สัญญาโดยใช้ทุนเป็นเวลา 2 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยคณะเภสัชศาสตร์ยังคงปรับปรุงการศึกษาอย่างสืบเนื่องโดยในปี พ.ศ. 2532 ได้เปิดหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต 3 สาขา ในปีถัดมาได้ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตเป็นลักษณะกึ่งเฉพาะทาง 5 สาขา ประกอบด้วย สาขาเภสัชกรรมโรงพยาบาลและเภสัชกรรมคลินิก, สาขาเทคโนโลยีการผลิตยา, สาขาวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์, สาขาเภสัชกรรมชุมชนและบริหารเภสัชกิจ และสาขาเภสัชสาธารณสุข และมีการจัดสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการแห่งใหม่เพื่อเฉลิมฉลองการสถาปนาเภสัชศาสตร์ในสยามประเทศครบ 80 ปีโดยใช้ชื่อ "อาคาร 80 ปีเภสัชศาสตร์" ในปี พ.ศ. 2536


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาเสด็จเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สมุนไพร วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2544นอกจากการพัฒนาด้านการเรียนการสอนและอาคารสถานที่นั้น คณะเภสัชศาสตร์ยังได้รวบรวมเภสัชภัณฑ์, เครื่องยา และเภสัชวัตถุโบราณซึ่งสั่งสมมาแต่ครั้งก่อตั้งคณะจัดสร้างเป็น "พิพิธภัณฑ์สมุนไพร" ขึ้น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในการเปิดพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมกับเปิดอาคารโอสถศาลาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และได้มีการจัดตั้งสมาคมนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ให้มีความแน่นแฟ้น รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมคณะฯ พร้อมทั้งกิจกรรมวิชาชีพเภสัชกรรมอีกด้วย

ปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิตฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552 โดยแบ่งเป็น 2 สาขา คือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ และหลักสูตรเภสัชศาสตบัณฑิต สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม โดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 6 ปี มีการพัฒนาผลงานวิจัยทางเภสัชกรรมโดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาเภสัชภัณฑ์และสมุนไพร ณ อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ ซึ่งได้ทำพิธีเปิดเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และยังมีโครงการต่างๆ อาทิ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ "โอสถศาลา" ศูนย์คอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์ ศูนย์เภสัชสารสนเทศ ศูนย์บริการเทคโนโลยีทางเภสัชอุตสาหกรรม หน่วยวิจัยและพัฒนาสมุนไพรและเครื่องเทศ รายการคลินิก FM 101.5 วิทยุจุฬาฯ ศูนย์ผลิตสื่อประสมคอมพิวเตอร์ ศูนย์สื่อสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องสมุดและระบบคอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมให้ปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตาม "ปรัชญาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม"

สัญลักษณ์ประจำคณะ
งูศักดิ์สิทธิ์พันถ้วยยาไฮเกีย เป็นสัญลักษณ์วิชาชีพเภสัชกรรมของกรีก โดยมีที่มาจากเทพีไฮเกีย เทพีแห่งสุขอนามัยและความสะอาด สัญลักษณ์ดังกล่าวได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพระเกี้ยวประดับเหนือถ้วย
กระถินณรงค์ ต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสถานที่ปลูกบริเวณป้ายคณะ
สีเขียวมะกอก เป็นสีประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นสีประจำคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ และยังเป็นสีประจำของวิชาชีพเภสัชกรรมอีกด้วย
เพลงศักดิ์ศรีเภสัช เป็นเพลงประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเรียนการสอน
หลักสูตรการศึกษา
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนใน 3 ระดับการศึกษา คือ ระดับปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) ของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ระบบทวิภาคคือ แบ่งปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย โดยแบ่งเป็น 2 สาขา อันประกอบด้วย สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรมและสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ทั้งสองสาขาใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี แบ่งเป็นการศึกษาวิชาการศึกษาทั่วไปและวิชาพื้นฐานวิชาชีพเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง และการศึกษาวิชาเฉพาะวิชาชีพเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง ในสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมเป็นการเน้นด้านการดูแลผู้ป่วยในกระบวนการใช้ยา และในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สามารถเลือกวิชาเฉพาะของสาขาใน 3 สาขา ได้แก่ สาขาเภสัชกรรมและเทคโนโลยี, สาขาค้นพบและพัฒนายา และสาขาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร ซึ่งทั้งสองหลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมและสภามหาวิทยาลัยแล้ว และต้องใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาเป็นเภสัชกรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะเวลา 2 ปี

นอกจากการจัดการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตนั้น คณะเภสัชศาสตร์ยังได้จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาโดยใช้ระยะเวลาศึกษาทั่วไป 2 ปี แบ่งเป็นหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต, หลักสูตรเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตรดุษฎีบันฑิต ทั้งนี้ยังมีการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติในสาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรม และสาขาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร

ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาศึกษา 6 ปี


สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต ใช้ระยะเวลาศึกษา 2 ปี

สาขาวิชาเภสัชกรรม
สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
สาขาวิชาเภสัชอุตสาหกรรม
สาขาวิชาเภสัชเคมี
สาขาวิชาอาหารเคมีและโภชนศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์
สาขาวิชาเภสัชเวท
สาขาวิชาจุลชีววิทยา
สาขาวิชาสรีรวิทยา
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
สาขาชีวเวชเคมี
สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม (นานาชาติ)
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ)
หลักสูตรเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต ใช้ระยะเวลาศึกษา 2 ปี

สาขาวิชาเภสัชกรรม
สาขาวิชาการบริบาล
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาเภสัชเคมีและ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
สาขาวิชาชีวเวชเคมี
สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม (นานาชาติ)
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ)
สาขาวิชาเภสัชเวททางเภสัชกรรม (นานาชาติ)


การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) ทั้งสิ้น 4 โครงการ ดังต่อไปนี้

โครงการรับผ่านระบบแอดมิสชัน ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) ทั่วไปที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชัน
โครงการรับตรงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้คะแนนสอบแอดมิสชันในการเลือกคณะได้ 4 คณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการพัฒนากีฬาชาติ ตามนโยบายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนานักกีฬาของชาติให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ โดยเปิดรับผ่านการสมัครโครงการพัฒนากีฬาชาติตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการจุฬาฯ ชนบท เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่พักอาศัยในต่างจังหวัด โดยนิสิตในโครงการนี้จะได้รับเงินอุดหนุนค่าการศึกษาตลอดการศึกษา
ภาควิชา
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมี 7 ภาควิชาดังนี้

ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม
ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี
ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา
ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ "The 8th NRCT-JSPS Joint Seminar" การวิจัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยทางเภสัชกรรม โดยมีผลงานการตีพิมพ์เชิงวิชาการเกี่ยวกับเภสัชกรรมและเภสัชวิทยาได้อันดับที่ 2 ของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย และจัดสร้างอาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ ซึ่งทำพิธีเปิดในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกรบวนการวิจัยทางยาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องด้วยปัจจุบัน ยาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งประเทศไทยมีอัตราการนำเข้าสูง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดตั้งอาคารนี้เพื่อเป็นอาคารวิจัยทางเภสัชภัณฑ์และสมุนไพร เพื่อลดอัตราการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

นอกจากนี้คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรมและอุตสาหกรรมยา โดยจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางดังต่อไปนี้

หน่วยปฏิบัติการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพร
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ชีวภาพจากทะเล
หน่วยปฏิบัติการวิจัยชีวการแพทย์วินิจฉัย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม
หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์รูปแบบของแข็ง
หน่วยปฏิบัติการวิจัยการศึกษาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งยา
หน่วยปฏิบัติการวิจัยทางประสาทสรีรวิทยาและประสาทเภสัชวิทยา
หน่วยปฏิบัติการวิจัยศูนย์ปฏิบัติการเภสัชจลนศาสตร์
หน่วยปฏิบัติการวิจัยทางพฤกษเคมีของสมุนไพรที่เลือกสรรจากการใช้ในชุมชนท้องถิ่น
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชศาสตร์
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยปฏิบัติการวิจัยได้รับสัมผัสจากสารพิษไอระเหย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยประสาทเภสัชวิทยาของสารสกัดจากพืช
หน่วยปฏิบัติการวิจัยอาหารทางการแพทย์
หน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบนำส่งยาและเครื่องสำอาง
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพยา
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ


อันดับของคณะ
จากผลการรายงาน 50 อันดับของคณะทางสาขาชีวการแพทย์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยประเมินคุณภาพของการเรียนการสอนและงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อันดับที่ 23 และเป็นอันดับที่ 1 ในคณะเภสัชศาสตร์ทั้งหมด

ความร่วมมือระดับนานาชาติ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ-ชิบะ โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต คณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี เป็นต้น โครงการเชิญคณาจารย์และวิทยากรจากต่างประเทศ ร่วมบรรยายและสัมมนา

สถานที่ภายในคณะ
พื้นที่การศึกษาและวิจัย
ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ดังนี้
อาคารเภสัชศาสตร์ ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2525 เป็นอาคารรูปตัวเอช (H) จำนวน 4 ชั้น เป็นอาคารแรกของคณะฯ ในบริเวณสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของสำนักเลขานุการคณะฯ และสำนักงานภายในคณะฯ รวมถึงที่ตั้งของห้องพักอาจารย์ตามภาควิชา และห้องปฏิบัติการรายภาควิชา แต่เดิม อาคารนี้ได้รับการออกแบบเป็นรูปตัวอี (E) ซ้อนกัน แต่งบประมาณในขณะนั้นมีจำกัด จึงได้ดัดแปลงแปลนบางส่วน ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอในเวลาต่อมา
อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์ เป็นอาคารสูง 8 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการทางเภสัชกรรมขนาดใหญ่ ห้องบรรยายรวม และหอประชุมตั้ว ลพานุกรม อาคารหลังนี้ได้รับงบประมาณการก่อสร้างจากสำนักงบประมาณแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามความประสงค์ของคณะฯ ซึ่งไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากพื้นที่อาคารเดิมคับแคบ ต้องแบ่งนิสิตออกเป็นหลายกลุ่ม ไม่สะดวกต่อการทำการเรียนการสอน นอกจากนี้ อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์ ได้นำครุภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนอีกด้วย
อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ เป็นอาคารสูง 10 ชั้น เป็นที่ตั้งของหอประชุม และห้องปฏิบัติการทางเภสัชกรรมและเคมี รวมถึงสำนักงานภาควิชาต่างๆด้วย อาคารหลังนี้ได้เริ่มต้นการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549 และในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้
สวนพฤกษศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณริมรั้วคณะฯ ฝั่งสยามสแควร์ ภายในมีการปลูกพืชสมุนไพรสำหรับการวิจัยยา และคิดค้นตำรายาสมุนไพรใหม่ๆ
พื้นที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ
ประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง ดังนี้
อาคารโอสถศาลา เป็นร้านยามาตรฐานสำหรับให้นิสิตเภสัชศาสตร์ได้ฝึกจ่ายยาในร้านยาจริง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2544
อาคารโอสถศาลาเดิม การบริการโอสถศาลาของคณะฯ ได้ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2529 เพื่อเป็นสถานฝึกงานแก่นิสิตภาควิชาเภสัชกรรมคลินิกถึงวิธีการบริการผู้ป่วยด้านยา ปัจจุบันอาคารดังกล่าวได้ปรับปรุงใช้เป็นห้องประชุมและสันทนาการของคณะฯ
พื้นที่นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจ
สนามบาสเกตบอล ตั้งอยู่บริเวณหลังอาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ สำหรับให้นิสิตเภสัชศาสตร์ได้ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมอื่นๆ
ลาน Rx เป็นลานกว้างภายในอาคารเภสัชศาสตร์ ภายในมีการปลูกพืชสมุนไพรทั่วไป บริเวณกลางลานเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำพุ และสัญลักษณ์ Rx อันเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
เป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศไทยไว้ รวมทั้งวิวัฒนาการเภสัชกรรมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ได้รวบรวมไว้ และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2544 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จเข้าเยี่ยมชมเป็นพระองค์แรก พร้อมทั้งคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย[27]
การเดินทาง
นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสมารถเดินทางได้หลายเส้นทาง

รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม
รถประจำทาง สาย 11 16 21 25 27 29 34 36 36ก 47 50 54 65 79 93 141 204 501 508
รถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาย 1 และ 4
บุคคล
รายนามหัวหน้าแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์และคณบดี
ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหัวหน้าแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณบดีตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

หัวหน้าแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายนามหัวหน้าแผนกฯ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. เภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรม 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2487
คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
2. เรือโทศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ ดร.อวย เกตุสิงห์ พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2489
3. ศาสตราจารย์เภสัชกร ดร.จำลอง สุวคนธ์ พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2500
4. ศาสตราจารย์เภสัชกร ดร.ชลอ โสฬสจินดา พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2509
5. ศาสตราจารย์เภสัชกร ดร.ไฉน สัมพันธารักษ์ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2515
คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
6. ศาสตราจารย์เภสัชกร ดร.วิเชียร จีรวงศ์ พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2517
7. นาวาเอกศาสตราจารย์เภสัชกร พิสิทธิ์ สุทธิอารมณ์ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521
8. รองศาสตราจารย์เภสัชกรบุญอรรถ สายศร พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2532
9. ศาสตราจารย์เภสัชกร ดร.ภาวิช ทองโรจน์ พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2536
10. รองศาสตราจารย์เภสัชกร ดร.สุนิพนธ์ ภุมมางกูร พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545
11. รองศาสตราจารย์เภสัชกร ดร.บุญยงค์ ตันติสิระ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548
12. รองศาสตราจารย์เภสัชกรหญิง ดร.พรเพ็ญ เปรมโยธิน พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552
13. รองศาสตราจารย์เภสัชกรหญิง ดร.พิณทิพย์ พงษ์เพ็ชร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน

นิสิตเก่าที่มีชื่อเสียง
ภญ.กรกมล ชัยวัฒนเมธิน (ออน) นักร้องสังกัดวงละอองฟอง
ภญ.ณัฐกานต์ ประสพสายพรกุล (โน๊ต) นักร้องและพิธีกร
ภก.ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ (บอย) นักแสดง
ท่านผู้หญิง ภญ.ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกด้านเภสัชตำรับสากลและการเตรียมการทางเภสัชกรรม, อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
ศ.(พิเศษ) ภก.ภักดี โพธิศิริ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและอดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
รศ.ภก.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
ภก.วิลาศ จันทร์พิทักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร
กิจกรรมและประเพณีของคณะ
กิจกรรมของทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดขึ้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

งานรับน้องใหม่
วันแรกพบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU First Date เป็นวันแรกของนิสิตใหม่ที่ได้เข้าทำกิจกรรมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานนี้ได้จัดขึ้นเพื่อทดแทนงาน ณ สถานที่ประกาศผลเอนทรานซ์ในระบบเก่า งานนี้จัดขึ้นโดยองค์การบริหารนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสโมสรนิสิตและคณะกรรมการคณะต่างๆ ทุกคณะ จัดขึ้น ณ บริเวณลานหลังพระบรมรูป 2 รัชกาล ช่วงหลังประกาศผลแอดมิสชันของทุกปี
สู่รั้วกระถินณรงค์ จะจัดขึ้นภายหลังการสอบสัมภาษณ์ของนิสิตใหม่ งานนี้เปรียบเสมือนงานแรกพบของคณะฯ เป็นกิจกรรมแรกที่จัดขึ้นภายในคณะฯ สำหรับนิสิตใหม่ งานนี้จัดขึ้น โดยสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี
แรกพบ สนภท. (สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย) จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นงานที่นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศมาพบปะกัน เพื่อทำความรู้จัก และสานสัมพันธ์ร่วมกัน จัดขึ้นโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยจัดขึ้น ณ บริเวณคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ในภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงาน โดยเวียนไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในปีการศึกษาล่าสุด งานนี้ได้จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รับน้องคณะฯ จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของนิสิตใหม่ด้วยกันเอง และกับรุ่นพี่ภายในคณะฯ
กิจกรรมห้องเชียร์ จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีนิสิตใหม่ โดยฝึกการร้องเพลงประจำคณะฯ เพลงมหาวิทยาลัย โดยจัดขึ้นภายในบริเวณของคณะฯ
กิจกรรมกีฬา
กีฬาเฟรชชี่ เป็นงานสำหรับนิสิตใหม่ทุกคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยองค์การบริหารนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์นิสิตภายในมหาวิทยาลัย
กระถินณรงค์คัพ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์นิสิตภายในคณะในแต่ละชั้นปี เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลของนิสิตแต่ละชั้นปี และบุคลาการในคณะฯ
กีฬาเภสัชสัมพันธ์ จัดขึ้นโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในแต่ละมหาวิทยาลัย โดยจัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยเจ้าภาพหมุนเวียนสลับกันไปในแต่ละสถาบัน
กีฬาสีภายในคณะฯ เป็นกิจกรรมแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของนิสิต บุคลากร ครู-อาจารย์ภายในคณะฯ จัดขึ้นโดยสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี
กีฬา 5 หมอ เป็นการแข่งขันกีฬาร่วมกันของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ณ ศูนย์กีฬาในร่มแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กิจกรรมวิชาการ
สัปดาห์เภสัชกรรม เป็นกิจกรรมเผยแพร่บทบาทของเภสัชกรในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งให้ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับสุขอนามัยและยาแก่ประชาชนทั่วไป จัดขึ้น ณ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โอสถศาลา ในช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
จุฬาฯ วิชาการ เป็นกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ถึงบทบาทและหน้าที่ของเภสัชกร และวิชาชีพเภสัชกรรม จัดขึ้นโดยองค์การบริหารนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี
ค่ายอยากเป็นเภสัชกร เป็นกิจกรรมเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยให้เข้าค่ายเป็นเวลา 2 วัน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ แขนงวิชา และการปฏิบัติการทางเภสัชกรรมจริง จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมกราคมของทุกปี
กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
พิธีไหว้ครู เป็นกิจกรรมที่นิสิตเภสัชศาสตร์จัดขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของครู-อาจารย์ที่อบรมสั่งสอน ให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทำบุญตักบาตร พิธีการมอบทุนการศึกษาแก่นิสิต การมอบประกาศนียบัตรนิสิตดีเด่น นิสิตที่ทำกิจกรรมดีเด่น นิสิตที่มีผลการเรียนดีเด่น โดยจัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี
งานลอยกระทงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นกิจกรรมที่มีชื่อเสียงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นบริเวณสนามฟุตบอลหน้าลานพระบรมรูป 2 รัชกาล โดยนิสิตทุกคณะร่วมกันจัดขบวนแห่นางนพมาศ และลอยกระทงร่วมกัน ณ บ่อน้ำหน้าพระบรมรูป 2 รัชกาล โดยจัดขึ้นในวันลอยกระทงของทุกปี
กิจกรรมสานสัมพันธ์ภายในคณะ
งานคืนถิ่นกระถินณรงค์ จัดขึ้นเพื่อแสดงความยินดีกับนิสิตที่จบการศึกษาเภสัชศาสตร์ โดยสโมสรนิสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี
งานแฟร์เวลล์ จัดขึ้นเพื่อแสดงความยินดีและอำลานิสิตชั้นปีที่ 5 ที่จะสำเร็จการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ ในงานประกอบไปด้วยการแสดงของนิสิตชั้นปีที่ 1 - 4 และการเลี้ยงอาหารแก่รุ่นพี่
งานบายบายเฟรชชี่ จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม เป็นกิจกรรมส่งท้ายของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่จะทำกิจกรรมร่วมกันในฐานะเป็นเฟรชชี่ จัดขึ้นโดยสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานส่งพี่ข้ามฟาก เป็นกิจกรรมที่นิสิตชั้นปีที่ 1 ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อขอบคุณรุ่นพี่ปี 2 ที่ดูแลมาโดยตลอดปีการศึกษา โดยถือเป็นประเพณีที่นิสิตชั้นปีที่ 2 จะไม่ได้ศึกษาในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท หรือ จุฬาใหญ่

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเภสัชศาสตร์


ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ Faculty of Pharmacy, Mahidol University

วันจัดตั้ง 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511

คณบดี รศ.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์

วารสาร วารสารเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
สีประจำคณะ สีเขียวมะกอก
สถานปฏิบัติการ สถานปฏิบัติการเภสัชชุมชน

เว็บไซต์ www.pharmacy.mahidol.ac.th


ที่อยู่
447 ถนนศรีอยุธยา แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511




ประวัติ
เมื่อ พ.ศ. 2485 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยทางมหาวิทยาลัยได้รับโอนแผนกเภสัชศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ต่อมา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์แห่งขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตรืจึงประกอบด้วยคณะเภสัชศาสตร์ 2 แห่งด้วยกัน

ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยมหิดล" รวมทั้ง ได้มีการโอนคณะเภสัชศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงตัดสร้อยท้ายคำว่า "พญาไท" ออกจาก "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท" เป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" ดังเช่นปัจจุบัน

ภาควิชา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมี 10 ภาควิชา และ 1 ศูนย์การศึกษาดังนี้

ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม
ภาควิชาอาหารเคมี
ภาควิชาชีวเคมี
ภาควิชาจุลชีววิทยา
ภาควิชาเภสัชกรรม
ภาควิชาสรีรวิทยา
ภาควิชาเภสัชวิทยา
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์
ภาควิชาเภสัชเคมี
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร


คณาจารย์
มีอาจารย์ประจำคณะกว่า 95 คน ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก 56.8 %, ปริญญาโท 35.7 % และปริญญาตรี 4.2 % โดยมีอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 4 คน, รองศาสตราจารย์ 48 คน , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 18 คน และ อาจารย์ 16 คน

หลักสูตร
ปริญญาตรี
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต

นักศึกษาจะต้องศึกษาครบ 5 ปี และจำนวนหน่วยการเรียนต้องไม่ต่ำกว่า 187 หน่วยกิตจึงจะสำเร็จการศึกษาได้ สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน เป็นลักษณะที่มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และต้องมีชั่วโมงในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทั้งหมด 500 ชั่วโมงครอบคลุมทั้งในด้าน เภสัชโรงพยาบาล และ เภสัชอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและฝึกสอนในเรื่องที่จำเป็นด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการรักษาพยาบาล เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในเรื่องดังกล่าวอย่างดียิ่งเพื่อที่นักศึกษาจะสามารถสำเร็จการศึกษาไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตนได้เป็นอย่างดี เช่น การวิเคราะห์ยา, การคำนวณสูตรยา, การแนะนำและจ่ายยาแก่คนไข้, การใช้ยาอย่างถูกต้อง และ การใช้พืชสมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น

ปริญญาโท
ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ , สาขาวิชาเคมี หรือ สาขาวิชาชีววิทยา จากสถาบันฯ ในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 75% ผู้สมัครต้องทำคะแนนอย่างต่ำ 500 คะแนนในการสอบ TOEFL หรือต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีรายละเอียดดังนี้

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชเคมี
สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย
สาขาวิชาเภสัชกรรม
สาขาวิชาเภสัชกรรมโรงพยาบาล
สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
สาขาวิชาบริหารเภสัชศาสตร์
สาขาวิชาจุลชีววิทยา
สาขาวิชาชีวเคมี
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
สาขาวิชาสรีรวิทยา
สาขาวิชาพิษวิทยา


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชเคมีและพฤกษเคมี
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ แบ่งออกเป็น 4 วิชาเอก ได้แก่ ชีวเคมี, จุลชีววิทยา, สรีรวิทยา และ เภสัชวิทยา
สาขาวิชาวิทยาการพืช (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรร่วมกันระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะเภสัชศาสตร์
หลักสูตรการจัดการสุขภาพมหาบัณฑิต
เป็นหลักสูตรร่วมกันระหว่าง วิทยาลัยการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย และ คณะเภสัชศาสตร์

ปริญญาเอก
ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเคมี หรือสาขาวิชาชีววิทยา หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากสถาบันฯในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ผู้สมัครต้องทำคะแนนอย่างต่ำ 500 คะแนนในการสอบ TOEFL หรือต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรายละเอียดดังนี้

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
สาขาเภสัชเคมีและพฤกษเคมี
สาขาเภสัชการ
สาขาวิทยาการพฤกษเภสัชภัณฑ์
สาขาบริหารเภสัชกิจ


อันดับของคณะ
จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปรากฏว่า ในด้านการวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ได้อันดับที่ 1 ของกลุ่มคณะเภสัชศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย และได้อันดับที่ 6 ของสาขาชีวการแพทย์ ส่วนในด้านการเรียนการสอน ได้อันดับที่ 2 ของกลุ่มคณะเภสัชศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย และ อันดับที่ 25 ของสาขาชีวการแพทย์

บทบาทของเภสัชกรต่อสังคมไทย

บทบาทของเภสัชกรต่อปัญหาสุขภาพของคนไทย
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันร้านยาที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกรมีจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับร้านยาที่มีเภสัชกรเป็นเจ้าของ ในอดีตเภสัชกรชุมชนจะเน้นการขายยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งในปัจจุบันร้านยามีจำนวนมากขึ้น เกิดปัญหาการแข่งขันด้านการค้า โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคา ซึ่งเภสัชกรที่มีร้านยาเล็กย่อมอยู่ไม่ได้ ต้องปิดกิจการไป และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่วิชาชีพเข้ามาแทน ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่เภสัชกรชุมชนต้องแสดงบทบาทให้ชัดเจน เพื่อ
แสดงคุณค่าที่แตกต่างกับร้านยาที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกร ในการใช้ความรู้ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำประชาชนที่มาซื้อยากินเองที่ร้านยา
เป็นจุดบริการด่านแรกสำหรับชุมชน สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว
เพื่อส่งเสริมคุณภาพในบริการสาธารณสุขทั่วหน้า
ข้อดีของการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังโดยเภสัชกรชุมชน

ช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐ ในกรณีที่ประชาชนมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องไปรอรับการรักษาที่โรงพยาบาลเพียงที่เดียว
เพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการรักษาตนเอง สามารถตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายได้ มีสิทธิในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้หลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องตรวจสอบสิทธิใด ๆ และสามารถเลือกเวลามาใช้บริการได้เอง
ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพได้ง่าย
เปิดบทบาทที่สำคัญของวิชาชีพเภสัชกรรม
ข้อโต้แย้ง

ภาครัฐ เช่น โรงพยาบาลไม่มั่นใจที่จะส่งผู้ป่วยมารับบริการที่ร้านยาเนื่องจากไม่มั่นใจในความรู้
เภสัชกรชุนชนเองไม่แน่ใจว่าบทบาทของตนเองมีขอบเขตแค่ไหน
กลัวต้องรับความผิดทางกฎหมาย
บทบาทของเภสัชกรชุมชนต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

เฝ้าระวังโรค เช่น คัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
ส่งเสริมการรักษา
ติดตามแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา
ส่งต่อผู้ป่วย ในกรณีที่เกินขีดความสามารถของเภสัชกรชุมชน

ตัวอย่างแบบประเมินหลักสูตรเภสัชศาสตร์

แบบประเมินเพื่อเห็นชอบหลักสูตรเภสัชศาสตร์
สภาเภสัชกรรม

1. สถาบัน........................................................................................................................................
2. หลักสูตรที่ขอประเมิน (ชื่อหลักสูตร ปริญญาและคำย่อ ไทย/อังกฤษ)
ชื่อหลักสูตร (ไทย)…………………………………………………………………………………
ชื่อหลักสูตร (อังกฤษ) ..................................................................……………………………
ชื่อปริญญา/คำย่อ (ไทย)……………………………………………………………………………
ชื่อปริญญา/คำย่อ (อังกฤษ) ..................................................................………………………
3. ผู้แทนของสถาบันที่ให้ข้อมูล
1…………………………………………….(ตำแหน่ง)……………………………………………...
2…………………………………………….(ตำแหน่ง)……………………………………………...
3…………………………………………….(ตำแหน่ง)……………………………………………...
4…………………………………………….(ตำแหน่ง)……………………………………………...
5…………………………………………….(ตำแหน่ง)……………………………………………...
4. คณะอนุกรรมการประเมินสถาบันและหลักสูตรเภสัชศาสตร์ ผู้ประเมิน
1. ........................................................................................................................................
2. ..........................................................................................................................................
3............................................................................................................................................
4. ..........................................................................................................................................
5. ..........................................................................................................................................
6. ...........................................................................................................................................
7. ...........................................................................................................................................
5. วันที่ประเมิน
ตั้งแต่วันที่................เดือน.........................................พ.ศ..........................
ถึงวันที่....................เดือน.........................................พ.ศ..........................




องค์ประกอบและรายละเอียดสำหรับการประเมิน
ที่
องค์ประกอบ
ดัชนี
มี
(ใช่)
ไม่มี
(ไม่ใช่)
หมายเหตุ หรือเอกสารหรือหลักฐาน หรือเหตุผลสนับสนุน

กรอบหลักสูตร
สภาเภสัชกรรมจะพิจารณารับรองเฉพาะปริญญาเพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกที่เกิดจากหลักสูตรที่มีมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของหลักสูตร 6 ปี




เงื่อนไขการเสนอหลักสูตร
คณะที่เปิดสอนสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ จะต้องเสนอหลักสูตรให้สภาเภสัชกรรมให้ความเห็นชอบก่อนที่จะเปิดรับสมัครนิสิต/นักศึกษา อย่างน้อย 180 วัน




ปรัชญาหลักสูตร
1) ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรและชัดเจน



2) สอดคล้องกับปรัชญาของหน่วยงานต้นสังกัด



วัตถุประสงค์หลักสูตร
1) ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรและชัดเจน ครอบคลุมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย



2) สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบ
วิชาชีพเภสัชกรรมและ พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม



3) สอดคล้องกับปรัชญาหลักสูตร



โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาสาระ
1) จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 220 หน่วยกิต



2) โครงสร้างของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์



3) เนื้อหาสาระของรายวิชาในหลักสูตรสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร



5.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1) หน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต



2) ครอบคลุมสาระ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ และ
คณิตศาสตร์ ด้วยสัดส่วนที่เหมาะสมทั้ง
หน่วยกิตและเนื้อหา หรือเป็นไปตามระเบียบตามที่ สกอ.กำหนด



5.2 หมวดวิชาเฉพาะ
1) หน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต






ที่
องค์ประกอบ
ดัชนี
มี
(ใช่)
ไม่มี
(ไม่ใช่)
หมายเหตุ หรือเอกสารหรือหลักฐาน หรือเหตุผลสนับสนุน


2) มีรายวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัยของนิสิต/นักศึกษา (Senior Project) ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต



3) ระดับพื้นฐานวิชาชีพ
3.1) ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
3.2) ประกอบด้วยวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เป็นพื้นฐานวิชาชีพ
3.3) มีวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของร่างกายและจิตใจของมนุษย์ สาเหตุและกลไกการเกิดโรค พยาธิสภาพ พยาธิสรีรของโรค แนวทางการศึกษาและการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ



4) ระดับวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 114 หน่วยกิต
4.1) กลุ่มวิชาทางด้านผลิตภัณฑ์
(1) มีเนื้อหารายวิชาทางเภสัชศาสตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวยา เคมีภัณฑ์ สารสกัดสมุนไพรและชีววัตถุต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นยา วิทยาศาสตร์และวิทยาการของยา การผลิตและประดิษฐ์ยา การประกันคุณภาพ ชีวสมมูลย์ กระบวนการเก็บรักษาและกระจายยา การวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมยา และวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(2) จำนวนไม่น้อยกว่า 35 หน่วยกิต หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 25ของจำนวนหน่วยกิตรายวิชาทางวิชาชีพเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาในหลักสูตร
4.2) กลุ่มวิชาทางด้านผู้ป่วย
(1) มีเนื้อหารายวิชาทางเภสัชศาสตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ การใช้ยาในผู้ป่วย ฤทธิ์และพิษของยา การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล อาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวกับยา รวมทั้งระบบการรายงานเภสัชจลน ศาสตร์ และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




องค์ประกอบ
ดัชนี
มี
(ใช่)
ไม่มี
(ไม่ใช่)
หมายเหตุ หรือเอกสารหรือหลักฐาน หรือเหตุผลสนับสนุน

(2) จำนวนไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนหน่วยกิต รายวิชาทาง วิชาชีพเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาในหลักสูตร
4.3) กลุ่มวิชาทางด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหารเภสัชกิจ
(1) มีเนื้อหารายวิชาเกี่ยวข้องทางด้านนโยบายยาและสุขภาพ แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ แผนพัฒนาระบบยา แผนพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรม การบริหารจัดการระบบยา การคุ้มครองผู้บริโภค สาธารณสุข เภสัชสาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพ เภสัชเศรษฐ ศาสตร์และระบาดวิทยาทางยา กฎหมาย และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(2) จำนวนไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต หรือไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของจำนวนหน่วยกิตรายวิชาทางวิชาชีพเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาในหลักสูตร



5.3 หมวดการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ
1) มีการฝึกงานรวมแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง




2) มีการฝึกงานวิชาชีพภาคบังคับ(โรงพยาบาล และร้านยา) ไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง




3) มีการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาขาที่มุ่งเน้น ไม่น้อยกว่า 1,600 ชั่วโมง ทั้งนี้ควรให้มีการฝึกงานด้านการผลิตยา และ/หรือการควบคุม/การประกันคุณภาพ และหรือการวิจัยและการพัฒนา ทั้งนี้ ครอบคลุมรวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น และ/หรือการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง




4) คณะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเครื่องมือ โดยมีแหล่งฝึกตามมาตรฐานที่สภาเภสัชกรรมกำหนด




ที่
องค์ประกอบ
ดัชนี
มี
(ใช่)
ไม่มี
(ไม่ใช่)
หมายเหตุ หรือเอกสารหรือหลักฐาน หรือเหตุผลสนับสนุน

5.4 หมวดวิชาเลือกเสรี
จำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต




6
การคิดหน่วยกิต
1 หนึ่งหน่วยกิตในระบบทวิภาค
1) ภาคทฤษฎี บรรยาย / อภิปราย / สัมมนา
ไม่น้อยกว่า 15 ชม. /ภาคการศึกษา



2) ภาคปฏิบัติ ในห้องปฏิบัติการ ฝึกหรือ
ทดลองในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 30 ชม./ภาคการศึกษา



3) การฝึกปฏิบัติงาน กำหนด 45-70 ชั่วโมงต่อหน่วยกิต



4) กรณีจัดการศึกษาระบบอื่นให้เทียบกับ
ระบบทวิภาค
1 หน่วยกิตไตรภาค = 12/15 ทวิภาค หรือ 5 หน่วยกิตไตรภาค = 4 หน่วยกิตทวิภาค



7
แผนการศึกษา
1) ระบุแผนการจัดการศึกษาทุกรายวิชาตลอดหลักสูตร



2) จำนวนชั่วโมงเรียน/สัปดาห์ ไม่เกิน 35 ชม.



3) การจัดลำดับรายวิชาตลอดหลักสูตรเหมาะสม



8
การรับนิสิต/นักศึกษา
มีเกณฑ์การคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาที่เป็นมาตรฐาน โดยเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ และมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจตลอดจนเจตคติที่ดีที่จะประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม



9
การลงทะเบียน
หลักสูตรเต็มเวลา
ภาคปกติ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และ
ไม่เกิน 22 หน่วยกิต / ภาคการศึกษา
ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 10 หน่วยกิต / ภาคการศึกษา



10
ระยะเวลาศึกษา
สำเร็จได้ ไม่ก่อน 5 ½ ปีการศึกษา และ
อย่างมากไม่เกิน 12 ปีการศึกษา หรือ
เป็นไปตามระเบียบการจัดการศึกษาของ
คณะ





ที่
องค์ประกอบ
ดัชนี
มี
(ใช่)
ไม่มี
(ไม่ใช่)
หมายเหตุ หรือเอกสารหรือหลักฐาน หรือเหตุผลสนับสนุน
11
การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
1) การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามหลักการที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด



2) ใช้รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและหลากหลาย ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และประสบการณ์จริง



3) จัดให้มีการประเมินผลนิสิต/นักศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับจุดประสงค์การศึกษา



12
การจัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
จัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ทุกรายวิชาของหลักสูตร ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ เนื้อหา แนวสังเขปวิชาโดยสังเขป การจัดประสบ การณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล



13
การจัดทำระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการศึกษาการประเมินผลและการตัดสินผล
จัดทำระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการศึกษา การประเมินผล และการตัดสินผลไว้ให้ชัดเจน และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา



14
เกณฑ์วัดผลและสำเร็จการศึกษา
เรียนครบถ้วนตามจำนวนหน่วยหน่วยกิตที่กำหนดโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPA) ไม่น้อยกว่า 2.00 จากระบบ 4 แต้มระดับคะแนน



15
การประเมินและการปรับปรุงหลักสูตร
1) กำหนดให้มีการประเมินและการปรับปรุง
หลักสูตรทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น อาจารย์ นิสิต/นักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต ฯลฯ



2) ในกรณีที่มีการปรับปรุงโครงสร้างของหลักสูตร มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาจะต้องได้รับอนุมัติจากสภาเภสัชกรรมก่อนเปิดการเรียนการสอน




ผลการพิจารณาเห็นชอบ ต้อง “มี” ทุกข้อตามเกณฑ์

แผนภูมิแสดงขั้นตอนการเสนอหลักสูตร
คณะเภสัชศาสตร์ / สถาบันการศึกษาร่างหลักสูตร
สกอ.*
สภา เภสัชกรรม

สถาบัน
สภามหาวิทยาลัย

ให้ความเห็นชอบ




สกอ.* หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ