การแพ้ยา

การแพ้ยา



เมื่อคุณรับประทานยาแล้วเกิดผื่น หรือแน่นหน้าอก แสดงว่าคุณอาจจะมีอาการแพ้ยา แต่การเกิดผลข้างเคียงจากยามิใช่หมายความว่าแพ้ยาเสมอไป อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ และผู้ป่วยก็ยังสามารถรับยานั้นได้ แต่ถ้าหากเกิดจากแพ้ยาผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงยาที่แพ้โดยเด็ดขาด

การแพ้ยาหมายถึงเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้มักจะเกิดอาการหลังรับประทานยา ทันทีหรือไม่เกิน 2 ชั่วโมงอาการที่สำคัญได้แก่

•ผื่นคัน
•คัดจมูก
•หายใจไม่ออก หายใจเสี่ยงดังหวีด
•บวมแขนขา
การที่จะทราบแน่ชัดต้องทำการทดสอบภูมิแพ้ หลังจากที่ทราบชื่อยาที่แพ้แล้วก็จดชื่อยาที่แพ้ไว้กับตัว หรืออาจจะทำป้ายติดไว้กับตัว การรักษาที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงจากยาชนิดนั้นโดยเด็ดขาด ก่อนที่แพทย์จะจ่ายยาต้องบอกแพทย์ทุกครั้งว่าแพ้ยาอะไร ก่อนรับยาจากเภสัชกรต้องถามชื่อยาและบอกว่าแพ้ยาอะไรแก่เภสัชกรเนื่องจากยาชนิดเดียวกัน อาจจะมีหลายชื่อ ผลเสียที่เกิดจากยาอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น






•Overdose or toxicity ได้รับยาเกินขนาด เช่นการได้ราปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อหากได้ติดต่อกันนานๆอาจจะมีผื่นเกิดขึ้น
•Secondary effects ผลข้างเคียงจากฤทธิ์ของยา เช่นเร่รับประทาน aspirin เพื่อแก้ปวดแต่เกิดเลือดออกง่าย เลือดออกง่ายเป็นผลจากยา aspirin
•Side effects คือผลข้างเคียงของยา เช่นกินยาลดน้ำมูกจะมีอาการปากแห้งใจสั่น นอนไม่หลับ กินยาแก้หอบหืดจะมีอาการมือสั่นใจสั่น กินยาแก้ปวดจะมีอาการปวดท้อง ท่านสามารถอ่านผลข้างเคียงได้จากสลากยาที่กำกับ อาการข้างเคียงไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคนที่กินยา อาจจะเกิดกับบางคนเท่านั้น
•Drug interactions ท่านหากรับประทานยามากกว่าหนึ่งชนิดท่านต้องทราบว่ายาสองชนิดมีปฏิกิริยาส่งเสริม หรือหักล้างกันหรือไม่ทั้งในแง่ของการรักษาและผลข้างเคียงของยา เช่นรับประทานยาชนิดหนึ่งและเมื่อได้ยาอีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ยานั้นออกฤทธิ์ หรือผลข้างเคียงมากขึ้นและอาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ยา
•Idiosyncratic reactions เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดอาการภูมิแพ้หรือไม่
โปรดจำไว้ว่าหากท่านจะรับประทานยาหรือสมุนไพรท่านต้องคำนึงถึงการแพ้ยาทั้งที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้และจากอย่างอื่น นอกจากนั้นท่านที่รับประทานยามากกว่า สองชนิดต้องระวังว่าอาจจะเกิดผลเสียแก่ตัวท่าน
การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้

เมื่อร่างกายได้รับสารชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกาย ทางผิวหนัง ทางรับประทาน ทางลมหายใจ หรือจากการฉีดยา หากร่่งกายรับสารนั้นได้ก็ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกาย แต่หากสารนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อาจจะรุ่นแรงมากจนทำให้เกิดเสียชีวิตกระทันหัน เรียกว่ายังไม่ได้ถอนเข็มก็เกิดอาการแล้ว หรือบางกรณีอาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิมาในภายหลังโดยที่ตัวคนไข้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไปรับสารใดมาบ้าง ความรุนแรงและความรวดเร็วของการเกิดภูมแพ้ขึ้นชนิดของภูมิแพ้ซึ่งแบ่งออกเป็น

IgE - Mediated Reaction

เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgE ขึ้นเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม

•IgE จะจับกับโปรตีนของสารภูมแพ้และเกาะกับผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า Mast cell
•หลังจากนั้นจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ตามมาทำให้เกิดการหลังของสารเคมอีกหลายชนิด histamine heparin Protease Eosinophil chemotactic factor Neutrophil chemotactic factor ,Leucotriene ,prostaglandin
สารต่างๆเหล่านี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมแพ้เฉียบพลันที่เรียกว่า Anaphylaxis ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

•ลมพิษ
•ความดันโลหิตต่ำ
•คัน
•Angioedema
ตัวอย่างสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ชนิดนี้

•ยาโดยเฉพาะกลุ่ม pennicillin
•การให้เลือด
•วัคซีน
•ฮอร์โมน
Cytotoxic/Cytolytic Reaction

ร่างกายจะสร้างภูมิชนิด IgG,iGm ,Complement มาจับกับโปรตีนของสารก่อภูมิแพ้ทำให้มีการทำลายของเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ของเม็ดเลือดทำให้เกิด การแตกของเม็ดเลือดแดง( Immune hemolytic anemia) เกล็ดเลือดต่ำ(Thromobocytopenia) เม็ดเลือดขาวต่ำ (Granulocytopenia) ตัวอย่างยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาชนิดนี้

•pennicillin
•quinidine
•sulfonamide
•methyldopa
Immune Complex Reaction

ภูมิของร่างกายจะรวมกับโปรตีนของสารภูมิแพ้เกิดสารที่เรียกว่า immune complex ซึ่งจะไหลเวียนไปในกระแสเลือด เมื่อimmune complex นี้ไปเกาะที่เส้นเลือดก็จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาดังนี้

•เกร็ดเลือดจะมาเกาะรวมกลุ่ม plattlet aggregation
•มีการกระตุ้นเซลล์ Mast cell activation
•มีการกระตุ้น ทำให้เกิด การรั่วของผนังหลอดเลือด{permiability} การหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ(ทำให้เกิดปวด บวม แดง ร้อน)
อาการของภูมิแพ้ชนิดนี้ได้แก่

•ไข้
•ผื่นที่ผิวหนัง
•ต่อมน้ำเหลืองโต
•ปวดข้อ
•ไตอักเสบ
•ตับอักเสบ
ยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดนี้ได้แก่

•hydralazine ยาลดความดันโลหิต
•procanamide
•isoniazid ยารักษาวัณโรค
•phenyltoin ยากันชัก
T-cell Mediated Reaction

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เกิดจากเซลลT-cell์ lymphocyte ถูกกระตุ้นเมื่อได้รับสารภูมิแพ้ อาการที่สำคัญของการเกิดภูมิแพ้ชนิดนี้คือพวกผื่นแพ้ที่เกิดจากการสัมผัส

แพ้ยาทำให้เกิดไข้

ท่านที่เป็นโรคติดเชื้อและซื้อยารับประทาน หลังจากรับประทานไประยะหนึ่งไข้ไม่ลง ซึ่งอาจจะเกิดจากแพยาก็ได้ ยาที่เกิดอาจจะเป็นไข้ต่ำๆตลอด หรือไข้สูงเป็นช่วงๆยาที่มักจะทำให้เกิดไข้คือยากลุ่มปฏิชีวนะ เมื่อหยุดยา 24-48 ชั่วโมงไข้ก็จะลงเอง

ยาที่ทำให้เกิดผลภูมิแพ้ที่ตับ

ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ โดยตับจะโตและเจ็บเมื่อเจาะเลือดตรวจจะพบว่ามีค่า SGOT,SGPT สูงและอาจจะมีดีซ่าน ยาที่ทำให้เกิดตับอักเสบที่พบบ่อยได้แก่

•phenotiazine
•sulfonamide
•halathane
•phenyltoin
•Isoniazid
ยาที่ทำให้เกิดโรคปอด

ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำเช่นยา nitrofurantoin sulfasalaxine นานๆอาจะทำให้เกิดโรคที่ปอด ทำให้เกิด ไข้ ไอ และมีผื่น เมื่อเจาะเลือดพบว่า eosinphil ในเลือดสูง การรักาาให้หยุดยานั้นเสีย

การแพ้ยา penicillin

ยากลุ่ม penicillin เป็นยาที่แพ้ได้บ่อยที่สุด การเกิดภูมิแพ้ได้หลายแบบ IgE,Immune Complex,Cytotoxic เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแพ้ยาpenicillin อาการแพ้มีได้หลายแบบ

•ลมพิษ
•คัน
•ผื่นได้หลายๆแบบ
•แพ้แบบรุนแรงได้แก่ หนังตา ปากบวมที่เรียกว่า angioedema กล่องเสียงบวม(laryngeal edema) หลอดลมเกร็ง()ความดันโลหิตต่ำ
•บางรายผื่นเป็นมากทำให้เกิดลอกทั้งตัวที่เรียกว่า steven johnson syndrome
•ในทางห้องทดลองพบว่าผู้ที่แพ้penicillin สามารถแพ้ยากลุ่ม cephalosporin ดังนั้นหากสามารกเลือกยากลุ่มอื่นได้น่าจะเป็นการปลอดภัย
•การแพ้ยา cephalosporin ก็ไม่จำเป็นต้องแพ้ penicillin
penicillin เมื่อให้ในโรคต่อไปนี้จะทำให้เกิดผื่นได้ง่าย

•ติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ infectiuos mononucleosis
•,มะเร็งเม็ดเลือดขาว
•กรดยูริกในเลือดสูง
•ให้ยาpenicillin ร่วมกับ allopurinol
แพ้ยา sulfonamide

ยา sulfonamide เป็นยาผสมในยาหลายชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ(bactrim) ยาแก้ปวด() ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำตาลในเลือด

การแพ้ aspirin

อาการของผู้ที่แพ้ aspirin มีได้หลายรูปแบบ

•ผื่นลมพิษ
•angioedema หน้าหนังจาปากบวม
•น้ำมูกไหล
•หลอดลมเกร็งทำให้แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากเป็นมากอาจจะมีตัวเขียว ริมฝีปากเขียว
•ความดันโลหิตต่ำ
•ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือไซนัสอักเสบจะแพ้ได้ถึงร้อยละ30-40
การรักษาอาการแพ้ยา

สำหรับผู้ทีอาการแพ้เฉียบพลัน

•ให้หยุดยานั้นทันที
•หากมีอาการแพ้รุนแรงแบบ anaphylaxis ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต ต้องไดรับยา epinephrine
•สำหรับผู้ที่มีผื่นลมพิษหรือ angioedema ให้ยาแก้แพ้รับประทาน
•ให้ยา steroid ชนิดรับประทาน
สำหรับผู้ที่แพ้ไม่เฉียพลัน

•ให้หยุดยาที่สงสัย หลังหยุดยาผื่นอาจจะยังเกิดขึ้นต่อไปได้อีก
•หากผื่นเป็นน้อยให้ยาแก้แพ้ชนิดเดียวก็น่าจะพอ
•สำหรับผู้ที่มีผื่นมากและมีท่าจะเป็นมากขึ้นก็สามารถให้กิน steroid ชนิดกินระยะสั่นๆ
•สำหรับผู้ที่มีการอักเสบของไต serum sickness ปวดข้อ อาจจะต้องให้ยา steroid และยาแก้แพ้รับประทาน
November 9, 2003



แพ้อากาศ อาการของโรคภูมิแพ้ การทดสอบภูมิแพ้ การรักษา ยาที่ใช้รักษาโรคภูมิแพ้ แพ้แบบรุนแรง ลมพิษ แพ้ยาง แพ้อาหาร แพ้แมลง ผื่นแพ้จากการสัมผัส ตาอักเสบจากแพ้ยา

เภสัชกรตัวอย่าง


การใช้อักษรย่อของคำ สัตวแพทย์ สัตวแพทย์หญิง นายสัตวแพทย์


เนื่องจากคำนำหน้านามเกี่ยวกับวิชาชีพสัตวแพทย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันยังมีความลักลั่น กล่าวคือ คำว่า “นายสัตวแพทย์” มีทั้งที่ใช้อักษรย่อว่า สพ. นสพ. น.สพ. คำว่า “สัตวแพทย์หญิง” มีทั้งที่ใช้อักษรย่อว่า สพญ. สพ.ญ. และโดยที่ราชบัณฑิตยสถานได้เคยกำหนดคำย่อของ นายสัตวแพทย์ ว่า สพ. จึงมีผู้ท้วงติงและให้ข้อมูลเรื่องการใช้อักษรย่อดังกล่าวจากผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาชีพสัตวแพทย์ว่า อักษรย่อ สพ. ใช้กับสัตวแพทย์ทั้งชายและหญิงที่จบประกาศนียบัตร แต่ถ้าเป็นสัตวแพทย์ปริญญาที่เป็นชาย เรียกว่า นายสัตวแพทย์ ใช้อักษรย่อว่า น.สพ. ส่วนสัตวแพทย์หญิง ใช้อักษรย่อว่า สพ.ญ.


ราชบัณฑิตยสถาน โดยคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย จึงได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวและได้สอบถามข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกทางหนึ่ง ได้ความตรงตามที่มีผู้ทักท้วงมาและเพื่อมิให้การใช้อักษรย่อของคำว่า นายสัตวแพทย์ สัตวแพทย์หญิง และ สัตวแพทย์ มีความลักลั่นและสื่อความหมายได้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง โดยที่หลักเกณฑ์การย่อคำให้ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละพยางค์ แล้วรวบจุดหลังพยัญชนะตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว คำ นายแพทย์ แพทย์หญิง จึงย่อว่า นพ. และ พญ. คำว่า ทันตแพทย์ ทันตแพทย์หญิง ย่อว่า ทพ. และ ทพญ. คำว่า เภสัชกร เภสัชกรหญิง ย่อว่า ภก. และ ภกญ. คำว่า เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์หญิง ย่อว่า ทนพ. และ ทนพญ. คำว่า พยาบาล พยาบาลชาย ย่อว่า พย. และ พยช. ตามลำดับ


คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย แห่งราชบัณฑิตยสถาน จึงได้มีมติให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันนี้ในการย่อคำว่า นายสัตวแพทย์ สัตวแพทย์หญิง และสัตวแพทย์ กล่าวคือ


คำว่า สัตวแพทย์ (สัตวแพทย์ทั้งชายและหญิงที่จบประกาศนียบัตร) ให้ใช้ว่า สพ.
คำว่า นายสัตวแพทย์ (สัตวแพทย์ปริญญาที่เป็นชาย) ให้ใช้ว่า นสพ.
คำว่า สัตวแพทย์หญิง (สัตวแพทย์ปริญญาที่เป็นหญิง) ให้ใช้ว่า สพญ.


เพื่อให้เข้าชุดกับอักษรย่อของคำอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น การย่อคำว่า นายสัตวแพทย์ แม้ว่าจะไปเหมือนกับการใช้อักษรย่อของคำว่า หนังสือพิมพ์ คือใช้ว่า นสพ. แต่การสื่อความต้องอาศัยบริบทหรือข้อความที่อยู่แวดล้อม ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าอักษรย่อ นสพ. ในกรณีนั้น ๆ หมายถึงคำใด.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทความนี้ขาดหรือต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิง เพื่อให้พิสูจน์ยืนยันได้ถึงที่มาและความน่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต


ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ Faculty of Pharmacy Rangsit University

วันจัดตั้ง 3 มิถุนายน พ.ศ. 2530

คณบดี รศ.ภญ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ

สีประจำคณะ สีเขียวมะกอก
สถานปฏิบัติการ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน

เว็บไซต์ www.rsu.ac.th/pharmacy/


ที่อยู่
52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน หลักหก ปทุมธานี 12000
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย นอกเหนือจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ 6 สถาบันในขณะนั้น โดยมี ศ.(พิเศษ)ภญ.ฉวี บุนนาค เป็นคณบดีคนแรกของคณะ (พ.ศ. 2530-2541) คณบดีท่านต่อมาคือ ศ.ภญ.ดร.สสี ปันยารชุน (พ.ศ. 2541-2545) และ รศ.ภญ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)

โดยนักศึกษาจะศึกษาเพื่อการเป็นเภสัชกรในช่วง 4 ปีแรกของหลักสูตร และศึกษากระบวนวิชาทางเลือก ให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในทางเลือกในชั้นปีที่ 5 ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีก 3 ครั้ง คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2542 ประกอบด้วย 232 หน่วยกิต (ไตรภาค) หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2544 ประกอบด้วย 186 หน่วยกิต (ทวิภาค) และหลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2546 ในปีการศึกษา 2545 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ขึ้นอีก 1 หลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ผลิตเภสัชกรรุ่นแรกออกไปในปี 2535 จำนวน 41 คน จนถึงปัจจุบันได้ผลิตเภสัชกรไปแล้วรวม 19 รุ่น



กลุ่มวิชา
กลุ่มวิชาบริหารเภสัชกิจ
กลุ่มวิชาเภสัชอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาเภสัชเคมีวิเคราะห์
กลุ่มวิชาเภสัชเวทและตัวยา
กลุ่มวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี
กลุ่มวิชาเภสัชกรรมคลินิกและชีวเภสัชศาสตร์
หลักสูตร
เปิดสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
1. หลักสูตรปริญญาตรี
ในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจากเดิมที่ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (เภสัชศาสตรบัณฑิต) เปลี่ยนเป็น 6 ปี (หลักสูตรบริบาลเภสัชกรรม) ดังนั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จะมีนักศึกษา 2 หลักสูตร เมื่อผลิตนักศึกษารหัส 51 จบหลักสูตร(5ปี)แล้ว หลักสูตรการศึกษาก็จะเหลือเพียงหลักสูตรเดียวคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม

1.1 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Bachelor of Pharmacy Program)
นักศึกษารหัส 51 (เข้าเรียนปี 2551) จะเป็นรุ่นสุดท้ายของหลักสูตรนี้

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Pharmacy
อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.
อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Pharm.
1.2 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy Program)
จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Care)
อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.(การบริบาลทางเภสัชกรรม)
อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Pharm.Care)
2. หลักสูตรปริญญาโท
เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเภสัชกรรม
: M.Sc.(Biopharmacy)
โดยมุ่งเน้นผลิตบุคลากรทางด้านชีวเภสัชกรรม เพื่อการสอน การวิจัยและการบริการทางวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่องานสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น