คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทความนี้ขาดหรือต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิง เพื่อให้พิสูจน์ยืนยันได้ถึงที่มาและความน่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต


ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ Faculty of Pharmacy Rangsit University

วันจัดตั้ง 3 มิถุนายน พ.ศ. 2530

คณบดี รศ.ภญ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ

สีประจำคณะ สีเขียวมะกอก
สถานปฏิบัติการ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน

เว็บไซต์ www.rsu.ac.th/pharmacy/


ที่อยู่
52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน หลักหก ปทุมธานี 12000
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย นอกเหนือจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ 6 สถาบันในขณะนั้น โดยมี ศ.(พิเศษ)ภญ.ฉวี บุนนาค เป็นคณบดีคนแรกของคณะ (พ.ศ. 2530-2541) คณบดีท่านต่อมาคือ ศ.ภญ.ดร.สสี ปันยารชุน (พ.ศ. 2541-2545) และ รศ.ภญ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)

โดยนักศึกษาจะศึกษาเพื่อการเป็นเภสัชกรในช่วง 4 ปีแรกของหลักสูตร และศึกษากระบวนวิชาทางเลือก ให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในทางเลือกในชั้นปีที่ 5 ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีก 3 ครั้ง คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2542 ประกอบด้วย 232 หน่วยกิต (ไตรภาค) หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2544 ประกอบด้วย 186 หน่วยกิต (ทวิภาค) และหลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2546 ในปีการศึกษา 2545 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ขึ้นอีก 1 หลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ผลิตเภสัชกรรุ่นแรกออกไปในปี 2535 จำนวน 41 คน จนถึงปัจจุบันได้ผลิตเภสัชกรไปแล้วรวม 19 รุ่น



กลุ่มวิชา
กลุ่มวิชาบริหารเภสัชกิจ
กลุ่มวิชาเภสัชอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาเภสัชเคมีวิเคราะห์
กลุ่มวิชาเภสัชเวทและตัวยา
กลุ่มวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี
กลุ่มวิชาเภสัชกรรมคลินิกและชีวเภสัชศาสตร์
หลักสูตร
เปิดสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
1. หลักสูตรปริญญาตรี
ในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจากเดิมที่ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (เภสัชศาสตรบัณฑิต) เปลี่ยนเป็น 6 ปี (หลักสูตรบริบาลเภสัชกรรม) ดังนั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จะมีนักศึกษา 2 หลักสูตร เมื่อผลิตนักศึกษารหัส 51 จบหลักสูตร(5ปี)แล้ว หลักสูตรการศึกษาก็จะเหลือเพียงหลักสูตรเดียวคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม

1.1 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Bachelor of Pharmacy Program)
นักศึกษารหัส 51 (เข้าเรียนปี 2551) จะเป็นรุ่นสุดท้ายของหลักสูตรนี้

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Pharmacy
อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.
อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Pharm.
1.2 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy Program)
จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Care)
อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.(การบริบาลทางเภสัชกรรม)
อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Pharm.Care)
2. หลักสูตรปริญญาโท
เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเภสัชกรรม
: M.Sc.(Biopharmacy)
โดยมุ่งเน้นผลิตบุคลากรทางด้านชีวเภสัชกรรม เพื่อการสอน การวิจัยและการบริการทางวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่องานสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น