เภสัชวิทยา



เภสัชวิทยา


(อังกฤษ: Pharmacology มาจากภาษากรีก pharmacon แปลว่ายา และ logos แปลว่าวิทยาศาสตร์) คือการศึกษาว่าสารเคมีมีปฏิกิริยากับสิ่งมีชีวิตอย่างไร ถ้าสารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นยา จะถูกจัดให้เป็นเภสัชภัณฑ์ เภสัชวิทยามีเนื้อหาดังนี้

องค์ประกอบของยา (drug composition)
คุณสมบัติของยา (drug properties)
ปฏิกิริยา (interaction)
พิษวิทยา (toxicology)
ผลที่ต้องการใช้รักษาโรค
การพัฒนาเวชภัณฑ์ไม่เพียงแต่มีความสำคัญทางการแพทย์เท่านั้น ยังมีความหมายต่อเศรษฐกิจ และการเมืองด้วย เพื่อป้องกันผู้บริโภคจากการใช้ยาผิดรัฐบาลส่วนใหญ่จะควบคุมการผลิต การจำหน่ายและการบริหารจัดการเวชภัณฑ์อย่างเข้มงวดในประเทศไทยหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้ยาคือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีชื่อย่อว่า "อย." ในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานนี้เรียก FDA (Food and Drug Administration) สูตรยาที่จะผลิตออกใช้หรือจำหน่ายจ่ายแจกจะต้องไดรับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยานี้ และจัดพิมพ์ในตำรับยาแห่งชาติซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่าUSP ย่อจาก United States Pharmacopeia ประเทศไทยก็ใช้ตำรับยานี้อ้างอิงเช่นกัน


พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การศึกษาเกี่ยวกับเคมีเวชภัณฑ์ต้องการความรู้อย่างลึกซึ้งว่าสารเคมีเหล่านี้มีผลต่อระบบชีววิทยาทั้งระบบอย่างไร โดยเฉพาะความรู้ทางชีววิทยาของเซลล์ และชีวเคมี ทำให้เกิดความก้าวหน้าและขยายขอบเขตสาขาของเภสัชวิทยามากขึ้น โดยเฉพาะการวิเคราะห์โมเลกุลของของเอนไซม์ เพื่อการออกแบบสารเคมีให้มีผลเฉพาะที่ในระดับโมเลกุล ในมุมมองทางเภสัชวิทยา คุณสมบัติหลายอย่างของยาจะขึ้นกับ

เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)


โดยเฉพาะ
1.ครึ่งชีวิต (half-life) และ
2.ปริมาตรกระจายตัว (volume of distribution) ของยา และ
เภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics)
1.ยาออกฤทธิ์อย่างไรและส่วนไหนของร่างกาย (mode of action)
2.ยามีพิษอย่างไรและส่วนไหนของร่างกาย (potential toxicity)
เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetic) ของยา นักเภสัชวิทยามีหลักในการศึกษาคือดกผข (ADME) :

การดูดซึม ( Absorption) - ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างไร (ผ่านผิวหนัง ผนังลำไส้ หรือเยื้อบุผนังในช่องปาก) ?
กระจายตัว (Distribution) - ยากระจายตัวในร่างกายอย่างไร?
เผาผลาญ (Metabolism) - ยาถูกเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกายไปเป็นสารประกอบตัวไหน มีฤทธ์อย่างไรและมีพิษหรือไม่อย่างไร?
ขับถ่าย (Excretion) - ยาถูกกำจัดอย่างไร (ทางน้ำดี ปัสสาวะ หรือผิวหนัง) ?
การใช้ยาซึ่งวัดกันที่ขอบเขตความกว้างหรือแคบของการรักษา (therapeutic margin) หรือ (therapeutic window) ในยาที่มีขอบเขตการรักษาแคบจะให้ยาผู้ป่วยยากและต้องการการติดตามการรักษา (therapeutic drug monitoring) อย่างใกล้ชิดเช่น

วาร์ฟาริน (warfarin)
แอนตี้อิพิเลปติก (antiepileptic) บางตัว
อะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside)
การจัดแบ่งประเภทยา
ยาสามารถจัดแบ่งได้หลายประเภทเช่น

คุณสมบัติทางเคมี
รูปแบบการให้ยา
ผลต่อระบบชีววิทยา
ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical
Classification System) เป็นที่นิยมใช้กันมาก

ประเภทของเวชภัณฑ์
ยาสำหรับทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) หรือ ระบบย่อยอาหาร
ทางเดินอาหารส่วนบน (Upper digestive tract) :
1.ยาลดกรด (antacid)
2.รีฟลักซ์ สัพเพรสแซนต์ (reflux suppressant)
3.แอนตี้ฟลาตูเลนต์ (antiflatulent)
4.แอนตี้โดพามิเนอร์จิก (antidopaminergic)
5.โปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (proton pump inhibitor)
6.เอช2 รีเซพเตอร์แอนตาโกนิสต์ (H2-receptor antagonist)
7.ไซโตโปรเทคแตนต์ (cytoprotectant)
8.โปรสตาแกลนดิน อานาลอก (prostaglandin analogue)
ทางเดินอาหารส่วนล่าง (Lower digestive tract) :
1.ยาระบาย (laxative)
2.ยาแก้เกร็ง (antispasmodic)
3.ยาแก้ท้องร่วง (antidiarrhoeal)
4.ไบล์แอซิดซีเควสแตนต์ (bile acid sequestrant)
5.โอปิออยด์ (opioid)
ยาสำหรับระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular system)
ทั่วไป (General) :
1.บีตารีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (beta-receptor blocker)
2.แคลเซียมแชนเนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blocker)
3.ยาขับปัสสาวะ (diuretic)
4.คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (cardiac glycoside)
5.แอนติอะริทึมมิก (antiarrhythmic)
6.ไนเตรต (nitrate)
7.แอนติอันจินัล (antianginal)
8.วาโสคอนสตริกเตอร์ (vasoconstrictor)
9.วาโสไดเลเตอร์ (vasodilator)
10.เพอริเฟอรัลแอคติเวเตอร์ (peripheral activator)
ยาลดความดัน (Antihypertensive) :
1.เอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitor)
2.แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (angiotensin receptor blockers)
3.แอลฟาบล็อกเกอร์ (alpha blocker)
เกี่ยวกับการจับตัวของเลือด (Coagulation) :
1.แอนติโคอะคูเลชั่น (anticoagulant)
2.เฮพาริน (heparin)
3.ยายับยั้งเกล็ดเลือด (antiplatelet drug)
4.ไฟบริโนไลติก (fibrinolytic)
5.แอนติฮีโมฟิลิกแฟคเตอร์ (anti-hemophilic factor)
6.ยาห้ามเลือด (haemostatic drug)
ยาโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง/ยาคอเลสเตอรอล (Atherosclerosis/cholesterol agents) :
1.ยาลดไขมันในเส้นเลือด (hypolipidaemic agent)
2.สแตติน (statin)
ยาสำหรับระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system)
1.ฮิปโนติก (hypnotic)
2.แอนเอสทิติก (anaesthetics)
3.แอนตี้ไซโคติก (antipsychotic)
4.แอนตี้ดีเปรสแซนต์ (antidepressant) (ประกอบด้วย
1.ไตรไซคลิก แอนติดีเปรสแซนต์ (tricyclic antidepressants)
2.โมโนเอมีน ออกซิเดส อินฮิบิเตอร์ (monoamine oxidase inhibitor)
3.เกลือลิเทียม (lithium salt)
4.สิเลกตีพ เซอโรโทนิน รีอัพเทค อินฮิบิเตอร์ (selective serotonin reuptake inhibitor)) ,
5.แอนตี้ อีมิติก (anti-emetic)
6.แอนตี้คอนวัลแซนต์ (anticonvulsant)
7.แอนตี้อีพิเลปติก (antiepileptic)
8.แอนซิโอไลติก (anxiolytic)
9.บาร์บิทูเรต (barbiturate)
10.มูพเมนต์ ดีสออเดอร์ (movement disorder drug)
11.ยากระตุ้น (stimulant) (ประกอบด้วย
1.แอมเฟตามีน (amphetamine)) ,
12.เบนโซไดอซิปีน (benzodiazepine)
13.ไซโคไพโรโลน (cyclopyrrolone)
14.โดพามีน แอนตาโกนิสต์ (dopamine antagonist)
15.แอนตี้ฮีสตามีน (antihistamine)
16.คอลิเนอร์จิก (cholinergic)
17.แอนตี้คอลิเนอร์จิก (anticholinergic)
18.อิมิติก (emetic)
19.แคนนาบินอยดส์ (cannabinoids)
20.5-เอชที แอนตาโกนิสต์ (5-HT antagonist)
ยาสลบ และยาระงับปวด (Analgesic & Anesthetic drugs)
1.ยาระงับปวด (analgesic) (ประกอบด้วย
1.อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen)
2.ยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAID)
3.โอปิออยด์ (opioid)
2.ยาชาเฉพาะที่ (local anesthetic)
3.ยาสลบ (general anaesthetic)
4.ยากดประสาท หรือสงบระงับ (sedative)
5.ยารักษาไมเกรน (migraine treatment drug)
ยาสำหรับระงับปวดกล้ามเนื้อ (Muscular system) และโครงสร้าง(Skeleton)
1.เอ็นเซด (NSAID) ,
2.ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxant)
3.ยานิวโรมัสคูลาร์ (neuromuscular drug)
4.แอนตี้คอลิเนสเตอเรส (anticholinesterase)
ยาสำหรับโรคตา
ทั่วไป (General) :
1.อะดรีเนอร์จิก นิวโรน บล็อกเกอร์ (adrenergic neurone blocker)
2.แอสตริงเจนต์ (astringent)
3.ออกคูลาร์ ลูบริแคนต์ (ocular lubricant)
ไดแอกโนสติก (Diagnostic) :
1.ทอปิคอล อะเนสทีติก (topical anesthetics)
2.ซิมแพโทมิเมติก (sympathomimetic)
3.พาราซิมแพโทมิเมติก (parasympatholytic)
4.ไมดริเอติก (mydriatic)
5.ไซโคลพลิจิก (cycloplegic)
แอนติ-แบคทีเรียล (Anti-bacterial) :
1.ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
2.ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (topical antibiotic)
3.ยาซัลฟา (sulfa drugs)
4.อะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycosides)
5.ฟลูออโรควิโนโลน (fluoroquinolones)
ยาต้านไวรัส (Anti-viral) :
ยาต้านเชื้อรา (Anti-fungal) :
1.อิมิดาโซล (imidazole)
2.พอลิอีน (polyene)
ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) :
1.เอ็นเซด (NSAID)
2.คอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroids)
แอนติ-อัลเลอร์จี (Anti-allergy) :
1.แมสต์เซลล์ อินฮิบิเตอร์ (mast cell inhibitors)
แอนติ-กลอโคมา (Anti-glaucoma) :
1.อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ (adrenergic agonist)
2.บีต้า-บ๊ลอคเกอร์ (beta-blocker)
3.คาร์บอนิก แอนไฮเดรส อินฮิบิเตอร์ (carbonic anhydrase inhibitor)/ไฮเปอร์ออสโมติก (hyperosmotic)
4.คอลิเนอร์จิก (cholinergic)
5.ไมโอติก (miotic)
6.พาราซิมแพโทมิเมติก (parasympathomimetic)
7.โปรสตาแกลนดิน อะโกนิสต์ (prostaglandin agonists)/โปรสตาแกลนดิน อินฮิบิเตอร์ (prostaglandin inhibitor)
8.ไนโตรกลีเซอรีน (nitroglycerin)
ยาสำหรับหูคอจมูก
1.ซิมแพโทมิเมติก (sympathomimetic)
2.แอนตี้ฮีสตามีน (antihistamine)
3.แอนตี้คอลิเนอร์จิก (anticholinergic)
4.เอ็นเซด (NSAID)
5.สเตอรอยด์ (steroid)
6.ยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (antiseptic)
7.ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (local anesthetic)
8.ยาต้านเชื้อรา (antifungal)
9.ซีรูมิโนไลติก (cerumenolytic)
[แก้] ยาสำหรับระบบทางเดินหายใจ (respiratory system)
1.บรองโคไดเลเตอร์ (bronchodilator)
2.เอ็นเซด (NSAID)
3.แอนตี้-อัลเลอร์จิก (anti-allergic)
4.ยาแก้ไอ (antitussive)
5.มิวโคไลติก (mucolytic)
6.ดีคอนเจสแตนท์ (decongestant)
7.คอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroid)
8.บีต้า-รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (beta-receptor antagonist)
9.แอนตี้คอลิเนอร์จิก (anticholinergic)
10.สเตอรอยด์ (steroid)
ยารักษาโรคต่อมไร้ท่อ (endocrine)
1.แอนโดรเจน (androgen)
2.แอนตี้แอนโดรเจน (antiandrogen)
3.กอแนโดโทรปิน (gonadotropin)
4.คอร์ติโคสเตอรอยด์ (corticosteroid)
5.โกรว์ท ฮอร์โมน (growth hormone)
6.อินสุลิน (insulin)
7.แอนตี้ไดอะเบติก (antidiabetic)
1.ซัลโฟนิลยูเรีย (sulfonylurea)
2.ไบกูอะไนด์ (biguanide)/เมตฟอร์มิน (metformin)
3.ไทอะโซลิดีนไดโอน (thiazolidinedione)
4.อินสุลิน (insulin)
8.ไทรอยด์ ฮอร์โมน (thyroid hormone)
9.ยาแอนติไทรอยด์ (antithyroid drug)
10.แคลซิโตนิน (calcitonin)
11.ไดฟอสโพเนต (diphosponate)
12.วาโสเพรสซิน อะนาล๊อก (vasopressin analogue)
ยาสำหรับระบบสืบพันธ์ (reproductive system) หรือทางเดินปัสสาวะ (urinary system)
1.ยาต้านเชื้อรา (antifungal)
2.อัลคาลิซิง เอเจนต์ (alkalising agent)
3.ควิโนโลน (quinolones)
4.ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
5.โคลิเนอร์จิก (cholinergic)
6.แอนติโคลิเนอร์จิก (anticholinergic)
7.แอนตี้คอลิเนสเตอเรส (anticholinesterase)
8.ยาแก้เกร็ง (antispasmodic)
9.5-แอลฟา รีดักเทส อินฮิบิเตอร์ (5-alpha reductase inhibitor)
10.ซีเลกทีพ แอลฟา-1 บล็อกเกอร์ (selective alpha-1 blocker)
11.ซิลเดนาฟิล (sildenafil)
ยาคุมกำเนิด (contraception)
1.คอนทราเซปตีพ (contraceptive)
2.ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (oral contraceptives)
3.ยาฆ่าอสุจิ (spermicide)
4.ดีโป คอนทราเซปตีพ (depot contraceptives)
ยาสำหรับโรคอ้วนและการเจริญเติบโต (obstetrics and gynaecology)
1.เอ็นเซด (NSAID)
2.แอนติคอลิเนอร์จิก (anticholinergic)
3.ยาห้ามเลือด (haemostatic drug)
4.แอนติไฟบริโนไลติก (antifibrinolytic)
5.การรักษาด้วยการแทนที่ฮอร์โมน (Hormone Replacement Therapy)
6.ยาควบคุมกระดูก (bone regulator)
7.บีต้า-รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (beta-receptor agonist)
8.ฟอลลิเคิล สติมูเลติง ฮอร์โมน (follicle stimulating hormone)
9.ลูทีอีไนซิง ฮอร์โมน (luteinising hormone)
10.แอลเอชอาร์เอช (LHRH)
11.กาโมลินิก แอซิด (gamolenic acid)
12.กอแนโดโทรปิน รีลีส อินฮิบิเตอร์ (gonadotropin release inhibitor)
13.โปรเจสโตเจน (progestogen)
14.ดอพามีน อะโกนิสต์ (dopamine agonist)
15.เอสโตรเจน (estrogen)
16.โปรสตาแกนดิน (prostaglandin)
17.กอแนโดรีลิน (gonadorelin)
18.คลอมิฟีน (clomiphene)
19.ทามอกซิเฟน (tamoxifen)
20.ไดอีทิลสติลเบสตรอล (Diethylstilbestrol)
ยารักษาโรคผิวหนัง
1.อีโมลเลียนต์ (emollient)
2.แอนติพรูริติก (antipruritic)
3.ยาต้านเชื้อรา (antifungal)
4.ยาฆ่าเชื้อโรค (disinfectant)
5.สคาบิไซด์ (scabicide)
6.ยาฆ่าเหาหรือหมัด (pediculicide)
7.ผลิตภัณฑ์ทาร์ (tar products)
8.ไวตามิน เอ ดีริวาตีพ (vitamin A derivatives)
9.ไวตามิน ดี อานาลอก (vitamin D analogue)
10.เคอราโตไลติก (keratolytic)
11.สารขัดถู (abrasive)
12.ยาปฏิชีวนะระบบเลือด (systemic antibiotic)
13.ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (topical antibiotic)
14.ฮอร์โมน (hormone)
15.ดีสเลาซิ่ง เอเจนต์ (desloughing agent)
16.เอ็กซูเดต แอบซอร์บเบนต์ (exudate absorbent)
17.ไฟบริโนไลติก (fibrinolytic)
18.โปรติโอไลติก (proteolytic)
19.สารกันแดด (sunscreen)
20.ยาลดการขับเหงื่อ (antiperspirant)
ยารักษาโรคติดเชื้อ (infections and infestations)
1.ยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
2.ยาต้านเชื้อรา (antifungal)
3.แอนติเลปรอติก (antileprotic)
4.ยาต้านวัณโรค (antituberculous drug)
5.ยาต้านเชื้อมาเลเรีย (antimalarial)
6.ยาฆ่าหรือขับพยาธิ (anthelmintic)
7.อะโมอีบิไซด์ (amoebicide)
8.ยาต้านไวรัส (antiviral)
9.ยาต้านเชื้อโปรโตซัว (antiprotozoal)
10.แอนติซีรัม (antiserum)
ยารักษาโรคภูมิคุ้มกัน (immunology)
1.วัคซีน (vaccine)
2.อิมมูโนกลอบูลิน (immunoglobulin)
3.อิมมูโนซัพเพรสแซนต์ (immunosuppressant)
4.อินเตอร์เฟอรอน (interferon)
5.โมโนโคลนัล แอนติบอดี้ (monoclonal antibody)
ยารักษาโรคภูมิแพ้ภูมิแพ้ (Allergy)
1.แอนติ-อัลเลอรจิก (anti-allergic)
2.แอนติฮีสตามีน (antihistamine)
3.เอ็นเซด (NSAID)
อาหารเสริม (nutrition)
1.ยาเจริญอาหาร (tonic)
2.ตำรับเหล็ก (iron preparation)
3.อีเล็กโตรไลต์ (electrolyte)
4.พาเรนเตอรัล นิวตริชนัล ซัพพลิเมนต์ (parenteral nutritional supplement)
5.ไวตามิน (vitamin)
6.ยาลดความอ้วน (anti-obesity drug)
7.ยาอะนาโบลิก (anabolic drug)
8.ยาฮีมาโตพอยอีติก (haematopoietic drug)
9.ผลิตภัณฑ์อาหาร (food product drug)
ยาต้านมะเร็ง (neoplastic)
1.ยาไซโตทอกซิก (cytotoxic drug)
2.ฮอร์โมนเพศ (sex hormone)
3.อะโรมาเตส อินฮิบิเตอร์ (aromatase inhibitor)
4.โซมาโตสแตติน อินฮิบิเตอร์ (somatostatin inhibitor)
5.recombinant อินเตอร์ลิวคิน (interleukin)
6.G-CSF (Granulocyte-colony stimulating factor)
ยาสำหรับตรวจวินิจฉัย (diagnostics)
1.คอนทราสต์ มีเดีย (contrast media)
ยาสำหรับการทำให้ตายอย่างไม่ทรมาน
1.ยูทานาเซีย (euthanasia)
2.บาร์บิทูเรต (Barbiturate)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น