ชีวเภสัชกรรม


ชีวเภสัชกรรม

(อังกฤษ:Biopharmacy) เป็นกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและการใช้ยารักษาโรคซึ่งมีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.หลักการเกิดโรค
2.เภสัชกรรมชีวภาพและเภสัชจลนพลศาสตร์
3.เภสัชบำบัด
4.พิษวิทยาเบื้องต้น
5.เภสัชกรรมคลินิกเบื้องต้น
6.ยาปัจจุบันและยาใหม่
7.ปัญหาพิเศษทางเภสัชกรรมคลินิก
8.การตรวจติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
หลักการเกิดโรค
1.ลักษณะกระบวนวิชามีดังนี้
1.เป็นการศึกษาความผิดปรกติของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือ กลุ่มอวัยวะในร่างกาย โดยเน้นการศึกษาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานและกลไกการเกิดโรค เพื่อสามารถนำไปใช้อธิบายการเกิดโรค
2.หลักการพื้นฐานในการรักษา บรรเทาและป้องกันความผิดปกติในเซลล์เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือกลุ่มอวัยวะในร่างกาย
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ การเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน และกลไกการเกิดโรค และ สามารถนำไปใช้อธิบายการเกิดโรคได้
2.เพื่อให้ทราบถึงหลักการพื้นฐานในการรักษา บรรเทา และป้องกันการเกิดโรค
เภสัชกรรมชีวภาพและเภสัชจลนพลศาสตร์
1.ลักษณะกระบวนวิชา เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจในหลักการ สามารถอธิบายถึงกระบวนการกระจายของยาตลอดจนปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการกระจายยาในร่างกายได้ และเพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการจับของยากับโปรตีน และผลของการจับของยากับโปรตีนที่มีต่อกระบวนการทางเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ คือสามารถ
1.อธิบายถึงความหมายของการกระจายยาและปริมาตรของการกระจาย (Vd) ได้
2.บอกสิ่งกีดขวางทางสรีรวิทยา (Physiological barrier) ในการกระจายตัวของยาได้
3.อธิบายถึงขั้นตอนในการกระจายตัวของยาไปยังเซลล์หรือตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ได้
4.บอกปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายยาได้
5.อธิบายถึงการจับของยากับโปรตีนได้
6.บอกผลของการจับของยากับโปรตีนต่อกระบวนการทางเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์ได้
7.บอกถึงปัจจัยที่มีผลต่อการจับของยากับโปรตีนได้
8.บอกถึงการกระจายผ่านโครงสร้างพิเศษ เช่น รก , Blood Brain Barrier ได้
9.บอกถึงการสะสมของยาในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ได้
10.อธิบายความหมายของ Redistribution ได้
เภสัชบำบัด
1.ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวข้องกับ
1.อาการและพยาธิของโรคต่างๆ เป้าหมายการรักษา การวางแผนการรักษา การใช้ยาเพื่อบำบัดรักษาโรคตามอาการและพยาธิสภาพของโรคที่พบบ่อย เช่น โรคติดเชื้อ โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ โรคความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นปัญหาที่เกิดจากการใช้ยารวมทั้งแนวทางป้องกันและแก้ไข
2.การรักษาด้วยยา โดยให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับโรคและความผิดปกติของระบบต่างๆในร่างกาย รวมทั้งสาเหตุและกลไกในการเกิดโรค ความผิดปกติของระบบนั้นๆ และกลไกในการออกฤทธิ์ของยาในการรักษาโรค
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.ให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาล การแปลผลค่าทางห้องปฏิบัติการ การเลือกใช้ยา การวางแผนการรักษา และการให้คำแนะนำในการใช้ยา ให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
2.ให้สามารถประเมินปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย และสามารถค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อหาคำตอบ และสามารถนำความรู้ที่ได้มาวางแผนป้องกันหรือหาวิธีในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขี้นในผู้ป่วยแต่ละรายได้
3.เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจถึงสาเหตุในการเกิดโรค ความผิดปกติของระบบต่างๆ และกลไกในการออกฤทธิ์ของยา เพื่อให้สามารถนำยาไปใช้รักษาโรคและความผิดปกติของระบบต่างๆได้อย่างสมเหตุสมผล
พิษวิทยาเบื้องต้น
1.ลักษณะกระบวนวิชา เป็นวิชาเกี่ยวกับความเป็นพิษจากยาและสารเคมีอื่นที่พบในชีวิตประจำวัน รวมถึงสารที่พบในสิ่งแวดล้อม กลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพิษ อาการแสดงทางคลินิกของการเกิดพิษและวิธีแก้ไขอาการพิษ
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงพิษวิทยาของยา สารเคมี และสารพิษอื่นๆ รวมทั้งทราบถึงกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพิษ อาการแสดงทางคลินิกของการเกิดพิษและวิธีแก้ไขอาการพิษ
เภสัชกรรมคลินิกเบื้องต้น
1.ลักษณะกระบวนวิชา บทบาทและหน้าที่ของเภสัชกรในการให้การบริการทางเภสัชกรรมคลินิกด้านต่างๆ เช่น การบันทึกประวัติการใช้ยา การติดตามและประเมินผลการใช้ยา การติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การแปลผลระดับยาในร่างกาย การให้สารอาหารทางหลอดเลือด เป็นต้น
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของเภสัชกรในการให้การบริการทางเภสัชกรรมคลินิกด้านต่างๆ
ยาปัจจุบันและยาใหม่
1.ลักษณะกระบวนวิชา การประเมินยาใหม่ โดยการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ จากวารสารหรือเอกสารทางวิชาการต่างๆ แล้วนำมาถกแถลงในเชิงเปรียบเทียบกับยาที่ใช้ในปัจจุบัน ในคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา พิษวิทยา ข้อดี ข้อเสีย และการใช้ทางคลินิก
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถที่จะ
1.ประเมินยาใหม่ประเภทต่างๆ ตามหัวข้อที่กำหนดให้
2.ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผลในผู้ป่วยแต่ละกรณี
3.พัฒนาความสามารถและทัศนคติในการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และจากทางบริษัทผู้ผลิตจำหน่าย
4.พัฒนาความสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการรักษาทางยาแล้วนำมาเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายและชัดแจ้งทั้งในการเขียนและการพูดด้วยความั่นใจ
ปัญหาพิเศษทางเภสัชกรรมคลินิก
1.ลักษณะกระบวนวิชา
1.ฝึกปฏิบัติการดำเนินการวางแผนการวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอผลงาน
2.ปัญหาพิเศษ โดยการค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ภายใต้การแนะนำดูแลของคณาจารย์ เขียนรายงานส่งพร้อมทั้งเสนอรายงานต่อคณาจารย์
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะสามารถ
1.เพื่อให้สามารถวางแผนการวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอผลงานด้านบริบาลเภสัชกรรม
2.ค้นคว้าและทำวิจัย แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
3.สามารถนำความรู้พื้นฐานทางด้านต่างๆ มาประยุกต์ในการค้นคว้าวิจัย
การตรวจติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
1.ลักษณะกระบวนวิชา ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา วิธีการติดตามผลอันไม่พึงประสงค์ การบันทึกรวบรวมข้อมูล วิธีการประเมินปฏิกิริยาที่สงสัยว่าจะเกิดจากการใช้ยาวิเคราะห์และประเมินผลลักษณะและชนิดของปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนจบ ผู้เรียนทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของเภสัชกรในการดำเนินงานเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา วิธีการติดตามผลอันไม่พึงประสงค์ การบันทึกรวบรวมข้อมูลและการรายงานตามระบบรายงาน วิธีการประเมินปฏิกิริยาที่สงสัยว่าจะเกิดจากการใช้ยา วิเคราะห์และประเมินผลลักษณะและชนิดของปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ได้
• กเภสัชกรรม

วิชาในสาขาฯ เภสัชภัณฑ์ • เคมีเภสัชภัณฑ์ • เภสัชวิทยา • จุลชีววิทยา • เคมี • ชีวเคมี • เภสัชพฤกษศาสตร์ • เภสัชวินิจฉัย •เภสัชอุตสาหกรรม • สรีรวิทยา • กายวิภาคศาสตร์ • อาหารเคมี • เภสัชกรรม • นิติเภสัชกรรม • บริหารเภสัชกิจ • เภสัชกรรมคลินิก • เภสัชศาสตร์สังคม • เภสัชกรรมโรงพยาบาล • ปฏิบัติการเภสัชกรรม • เทคโนโลยีเภสัชกรรม • ชีวเภสัชศาสตร์ • เภสัชกรรมชุมชน • พิษวิทยา

สัญลักษณ์ โกร่งบดยา • เรซิพี (℞) • ถ้วยยาไฮเกีย • ถ้วยตวงยา • เฉลว • กากบาทเขียว


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น