คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเภสัชศาสตร์


ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ Faculty of Pharmacy, Mahidol University

วันจัดตั้ง 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511

คณบดี รศ.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์

วารสาร วารสารเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
สีประจำคณะ สีเขียวมะกอก
สถานปฏิบัติการ สถานปฏิบัติการเภสัชชุมชน

เว็บไซต์ www.pharmacy.mahidol.ac.th


ที่อยู่
447 ถนนศรีอยุธยา แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511




ประวัติ
เมื่อ พ.ศ. 2485 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยทางมหาวิทยาลัยได้รับโอนแผนกเภสัชศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ต่อมา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์แห่งขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตรืจึงประกอบด้วยคณะเภสัชศาสตร์ 2 แห่งด้วยกัน

ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยมหิดล" รวมทั้ง ได้มีการโอนคณะเภสัชศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงตัดสร้อยท้ายคำว่า "พญาไท" ออกจาก "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท" เป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" ดังเช่นปัจจุบัน

ภาควิชา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมี 10 ภาควิชา และ 1 ศูนย์การศึกษาดังนี้

ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม
ภาควิชาอาหารเคมี
ภาควิชาชีวเคมี
ภาควิชาจุลชีววิทยา
ภาควิชาเภสัชกรรม
ภาควิชาสรีรวิทยา
ภาควิชาเภสัชวิทยา
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์
ภาควิชาเภสัชเคมี
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร


คณาจารย์
มีอาจารย์ประจำคณะกว่า 95 คน ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก 56.8 %, ปริญญาโท 35.7 % และปริญญาตรี 4.2 % โดยมีอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 4 คน, รองศาสตราจารย์ 48 คน , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 18 คน และ อาจารย์ 16 คน

หลักสูตร
ปริญญาตรี
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต

นักศึกษาจะต้องศึกษาครบ 5 ปี และจำนวนหน่วยการเรียนต้องไม่ต่ำกว่า 187 หน่วยกิตจึงจะสำเร็จการศึกษาได้ สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน เป็นลักษณะที่มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และต้องมีชั่วโมงในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทั้งหมด 500 ชั่วโมงครอบคลุมทั้งในด้าน เภสัชโรงพยาบาล และ เภสัชอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและฝึกสอนในเรื่องที่จำเป็นด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการรักษาพยาบาล เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในเรื่องดังกล่าวอย่างดียิ่งเพื่อที่นักศึกษาจะสามารถสำเร็จการศึกษาไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตนได้เป็นอย่างดี เช่น การวิเคราะห์ยา, การคำนวณสูตรยา, การแนะนำและจ่ายยาแก่คนไข้, การใช้ยาอย่างถูกต้อง และ การใช้พืชสมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น

ปริญญาโท
ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ , สาขาวิชาเคมี หรือ สาขาวิชาชีววิทยา จากสถาบันฯ ในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 75% ผู้สมัครต้องทำคะแนนอย่างต่ำ 500 คะแนนในการสอบ TOEFL หรือต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีรายละเอียดดังนี้

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชเคมี
สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย
สาขาวิชาเภสัชกรรม
สาขาวิชาเภสัชกรรมโรงพยาบาล
สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
สาขาวิชาบริหารเภสัชศาสตร์
สาขาวิชาจุลชีววิทยา
สาขาวิชาชีวเคมี
สาขาวิชาเภสัชวิทยา
สาขาวิชาสรีรวิทยา
สาขาวิชาพิษวิทยา


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชเคมีและพฤกษเคมี
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ แบ่งออกเป็น 4 วิชาเอก ได้แก่ ชีวเคมี, จุลชีววิทยา, สรีรวิทยา และ เภสัชวิทยา
สาขาวิชาวิทยาการพืช (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรร่วมกันระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะเภสัชศาสตร์
หลักสูตรการจัดการสุขภาพมหาบัณฑิต
เป็นหลักสูตรร่วมกันระหว่าง วิทยาลัยการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย และ คณะเภสัชศาสตร์

ปริญญาเอก
ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเคมี หรือสาขาวิชาชีววิทยา หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากสถาบันฯในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ผู้สมัครต้องทำคะแนนอย่างต่ำ 500 คะแนนในการสอบ TOEFL หรือต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรายละเอียดดังนี้

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
สาขาเภสัชเคมีและพฤกษเคมี
สาขาเภสัชการ
สาขาวิทยาการพฤกษเภสัชภัณฑ์
สาขาบริหารเภสัชกิจ


อันดับของคณะ
จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปรากฏว่า ในด้านการวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ได้อันดับที่ 1 ของกลุ่มคณะเภสัชศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย และได้อันดับที่ 6 ของสาขาชีวการแพทย์ ส่วนในด้านการเรียนการสอน ได้อันดับที่ 2 ของกลุ่มคณะเภสัชศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย และ อันดับที่ 25 ของสาขาชีวการแพทย์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น