หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2551)
1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์ภาษาอังกฤษ Master of Pharmacy Program in Pharmaceuticals
2. ชื่อปริญญา
ภาษาไทย เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชภัณฑ์)ภ.ม. (เภสัชภัณฑ์)ภาษาอังกฤษ Master of Pharmacy (Pharmaceuticals)M. Pharm. (Pharmaceuticals)
3. หน่วยงานรับผิดชอบ
คณะเภสัชศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. หลักการและเหตุผล ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.1 หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในเชิงองค์ความรู้ใหม่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์ยาที่นำเข้ามีราคาสูงมาก การกำหนดราคาขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถถึงยาที่จำเป็นได้ โดยเฉพาะยาสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคร้ายแรง
การค้นคว้าหายาใหม่ กระบวนการนำส่งยา การกำหนดและควบคุมคุณภาพยาและการจัดองค์ความรู้ทางเภสัชกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศและการพึ่งตนเองในระยะยาว การพัฒนาในด้านนี้จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อการวิจัยและค้นคว้าเพื่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมีโครงการที่จะผลิตเภสัชกรให้เป็นนักวิชาการที่สูงขึ้น เพื่อเป็นนักวิจัยคิดค้นและพัฒนาเภสัชภัณฑ์ นักวิชาการขั้นสูงทางด้านวิชาชีพเภสัชศาสตร์ นักจัดการองค์ความรู้ในวิชาชีพเภสัชกรรมซึ่งในปัจจุบันองค์ความรู้ใหม่ๆของวิชาชีพมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์มีอาจารย์ระดับปริญญาเอกในสาขา Pharmaceutical Sciences ถึง 89% (40 จาก 43) จึงมีศักยภาพและความพร้อมอย่างเพียงพอทั้งในด้านทรัพยากรบุคคลและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์ สำหรับเหตุผลของการปรับหลักสูตรใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาตนเองในงานบางประเภทที่ไม่ต้องลงลึกในด้านงานวิจัยแต่เป็นองค์ความรู้ขั้นสูงในงานประจำที่ตนเองปฏิบัติอยู่
ปัจจุบันความต้องการของหน่วยราชการ เอกชน และเภสัชกร ยังต้องการผู้ปฏิบัติงานที่มีองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ที่สูงขึ้น เนื่องจากมีองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นอย่างมาก การจัดการองค์ความรู้เพื่อตอบคำถามทางวิทยาการนั้นสามารถทำได้หลายทาง หลักสูตรนี้จึงได้ปรับปลักสูตรให้เป็นเป็นภาพนักวิชาการขั้นสูงและนักวิจัยออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ วิทยาการค้นพบยาใหม่ (Drug Discovery) วิทยาการการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Utilization of Herbal and Natural Product) คุณภาพและมาตรฐานของยาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (Quality and Standards of Drug and Related Products) วิทยาการนำส่งยา (Drug Delivery Technology)
เนื่องจากหลักสูตรนี้ได้เปิดรับนักศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 ขณะที่บริบทความก้าวหน้า ทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี และตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงจำเป็นต้องมีการ ปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการการผลิตนักวิชาการขั้นสูงและนักวิจัยหลักสูตรจึงได้ปรับวิชาเลือกสำหรับแผน ก แบบ ก2 และการเรียนแผน ข ที่เน้นองค์ความรู้ด้านวิชาการเป็นหลัก
4.2 ปรัชญา
การผลิตเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์ มุ่งเน้นการสร้างนักวิชาการทางด้านเภสัชกรรม การวิจัย การศึกษาขั้นสูงทางด้านวิชาชีพเภสัชศาสตร์ และกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อไปผลิตพัฒนาและใช้ยาอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ และเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเอง วิชาชีพและสังคม รวมทั้งเป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
4.3 วัตถุประสงค์
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้4.3.1 มีความรู้อย่างลึกซื้ง ในด้านวิทยาการค้นพบยาใหม่ คุณภาพและมาตรฐานของยาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง วิทยาการนำส่งยา และการจัดการองค์ความรู้ในวิชาชีพเภสัชกรรม4.3.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถดำเนินการวิจัย อย่างมีระเบียบแบบแผน แก้ปัญหาต่างๆ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม4.3.3 สามารถตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการได้อย่างอิสระ มีความเคารพต่อความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี4.3.4 สามารถถ่ายทอดสื่อสารความรู้ด้านเภสัชภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ4.3.5 มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพหลักสูตรนี้ส่วนหนึ่งต้องการเสริมศักยภาพของเภสัชกรที่ทำงานอยู่ในสาขาวิชาต่าง ๆ และสามารถนำองค์ความรู้ที่เรียนไปใช้ได้จริง
5. กำหนดการเปิดสอน
เปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 หมวดที่ 5 ข้อ 26.2 หรือตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่ และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้(1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ โดย(2) ผู้สมัครในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยในระดับปริญญาตรี ตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00 หรืออื่น ๆ ที่เทียบเท่าหรือมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี(3) ผู้สมัครในหลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 และแผน ข จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยในระดับปริญญาตรี ตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.50 หรืออื่นๆ ที่เทียบเท่า ถ้ามีคะแนนเฉลี่ยสะสมน้อยกว่า 2.50 จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงาน ที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี(4) ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 2 และข้อ 3 อาจสมัครเข้าเรียนได้โดยต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์ หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548หมวดที่ 5 ข้อ 27 และข้อ 28 หรือเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่
8. ระบบการศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 หมวดที่ 2 ทุกข้อ และหมวดที่ 3 ข้อ 11.2 และข้อ 12.2 หรือเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรับปรุงใหม่
9. ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาสำหรับการศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์ ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 หมวดที่ 3 ข้อ 14.2 หรือเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่
10. การลงทะเบียนเรียน
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 หมวดที่ 6 หรือเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่
11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 หมวดที่ 7 ทุกข้อยกเว้นข้อ 36.5 และ 36.6 และหมวดที่ 9 ข้อ 54.2 หรือเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น