บทบาทของเภสัชกรต่อสังคมไทย

บทบาทของเภสัชกรต่อปัญหาสุขภาพของคนไทย
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันร้านยาที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกรมีจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับร้านยาที่มีเภสัชกรเป็นเจ้าของ ในอดีตเภสัชกรชุมชนจะเน้นการขายยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งในปัจจุบันร้านยามีจำนวนมากขึ้น เกิดปัญหาการแข่งขันด้านการค้า โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคา ซึ่งเภสัชกรที่มีร้านยาเล็กย่อมอยู่ไม่ได้ ต้องปิดกิจการไป และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่วิชาชีพเข้ามาแทน ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่เภสัชกรชุมชนต้องแสดงบทบาทให้ชัดเจน เพื่อ
แสดงคุณค่าที่แตกต่างกับร้านยาที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกร ในการใช้ความรู้ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำประชาชนที่มาซื้อยากินเองที่ร้านยา
เป็นจุดบริการด่านแรกสำหรับชุมชน สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว
เพื่อส่งเสริมคุณภาพในบริการสาธารณสุขทั่วหน้า
ข้อดีของการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังโดยเภสัชกรชุมชน

ช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐ ในกรณีที่ประชาชนมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องไปรอรับการรักษาที่โรงพยาบาลเพียงที่เดียว
เพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการรักษาตนเอง สามารถตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายได้ มีสิทธิในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้หลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องตรวจสอบสิทธิใด ๆ และสามารถเลือกเวลามาใช้บริการได้เอง
ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพได้ง่าย
เปิดบทบาทที่สำคัญของวิชาชีพเภสัชกรรม
ข้อโต้แย้ง

ภาครัฐ เช่น โรงพยาบาลไม่มั่นใจที่จะส่งผู้ป่วยมารับบริการที่ร้านยาเนื่องจากไม่มั่นใจในความรู้
เภสัชกรชุนชนเองไม่แน่ใจว่าบทบาทของตนเองมีขอบเขตแค่ไหน
กลัวต้องรับความผิดทางกฎหมาย
บทบาทของเภสัชกรชุมชนต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

เฝ้าระวังโรค เช่น คัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
ส่งเสริมการรักษา
ติดตามแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา
ส่งต่อผู้ป่วย ในกรณีที่เกินขีดความสามารถของเภสัชกรชุมชน

3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สวะ โง่

Unknown กล่าวว่า...

สมเพช

Unknown กล่าวว่า...

อ่านทำเหี้ยไรครับ

แสดงความคิดเห็น